Bijoux Over The Century | ย้อนเวลาไปเจาะลึกประวัติและที่มาของเทรนด์จิวเวลรียุค 1930s-1940s
Revolutionary (1930s-1940s): หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมูลค่าของเพชรได้ถูกชุบชีวิตขึ้นมาอีกครั้งโดย CHANEL จนก่อเกิดธรรมเนียมแหวนหมั้นและแบรนด์เพชรในประเทศสหรัฐอเมริกาอีกมากมาย
พาย้อนเวลาไปเจาะลึกประวัติและที่มาของเทรนด์จิวเวลรีแต่ละยุคในช่วงกว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันกับ Bijoux Over The Century เพราะหลักฐานสำคัญที่ทำให้เราสามารถค้นพบร่องรอยทางประวัติศาสตร์ไม่ได้มีเพียงแค่ในรูปแบบศิลาจารึก ภาพเขียนสีตามฝาผนัง ประติมากรรมรูปปั้น จิตรกรรมภาพวาด คัมภีร์ สมุดบันทึก หรือภาพถ่ายเพียงเท่านั้น เครื่องประดับอัญมณีหรือจิวเวลรีก็สามารถสะท้อนเรื่องราวในอดีตได้อย่างแจ่มชัดโดยไม่ต้องอาศัยตัวอักษรหรือภาพเขียน นอกจากนี้จิวเวลรียังเป็นเหมือนดัชนีบ่งชี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาร่วมสมัยอีกด้วย รวมถึงดีไซน์อันงดงามที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรม บรรทัดฐานความงาม และกระแสนิยมในสังคมแต่ละยุค ซึ่งรูปแบบและสไตล์ของจิวเวลรีมักจะเติบโตและเปลี่ยนแปลงแทบจะทุกๆ สิบปี มาดูกันว่าผลงานจากอดีตจะมีอิทธิพลต่อจิวเวลรีในปัจจุบันและทิศทางในอนาคตอย่างไร
1 / 2
2 / 2
Revolutionary (1930s-1940s): เป็นช่วงเวลาของสงครามและตลาดหุ้นตกซึ่งส่งผลกระทบต่อมูลค่าของอัญมณีในตลาดการซื้อขาย ทว่าดีไซเนอร์ระดับตำนาน Gabrielle Coco Chanel เดินหน้าสร้างสรรค์ผลงานจิวเวลรีคอลเล็กชั่น Bijoux de Diamants เพื่อฟื้นฟูมูลค่าของเพชร และมอบคืนความสุขให้แกเหล่าสุภาพสตรี ด้วยผลงานทั้งหมด 50 ชิ้นที่โดดเด่นด้วยดีไซน์ดวงจันทร์ ริบบิ้น ดาวหาง และขนนก ซึ่งโมทีฟเหล่านี้ยังคงถูกนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานของ CHANEL อย่างต่อเนื่อง และในช่วงปลายทศวรรษ 1930s แบรนด์จิวเวลรี De Beers ปล่อยแคมเปญแหวนเพชรที่เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ด้วยสโลแกน ‘A Diamond is Forever’ ซึ่งนับเป็นจุดกำเนิดธรรมเนียมการมอบแหวนหมั้นจนถึงทุกวันนี้ และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักอันยั่งยืน กลยุทธนี้ทำให้แหวนเพชรมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ ส่งผลงานให้แบรนด์จิวเวลรีอีกมากมายเช่น H Stern และ Harry Winston สามารถเติบโตได้แบบก้าวกระโดดคู่ไปกับการฟื้นฟูของเศรษฐกิจ
สามารถติดตามอ่านประวัติเทรนด์จิวเวลรีในยุคอื่นๆ ตั้งแต่ช่วงยุค 1910s จนถึงถึง 2010s และปัจุบันได้ต่อที่ Vogue.co.th โดยค้นหาคำว่า Bijoux Over The Century
WATCH
กราฟิก: จินาภา ฟองกษีร
เรื่องและเรียบเรียง: คอลิน ณ ตะกั่วทุ่ง
WATCH