พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกอังกฤษ, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกชาร์ลส์ที่ 3, กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3, สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3, Charles III coronation
SOCIETY

เปิดเรื่องราวราชรถที่กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 ประทับเสด็จไป-กลับในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ทั้ง Diamond Jubilee Coach และ Gold State Coach นั้นมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อังกฤษอย่างเหลือล้นแม้จะมาจากต่างยุคสมัยเกือบ 2 ศตวรรษ

     “ราชรถ” คือองค์ประกอบสำคัญที่จะปรากฏต่อหน้าสาธารณชนบ่อยครั้งที่สุดในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ดังนั้นนี่จึงเป็นส่วนหลักที่หลายคนจับตามองว่าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะทรงประทับบนราชรถคันใด เพราะในประวัติศาสตร์อังกฤษมีการระบุถึงราชรถที่เปี่ยมไปด้วยประวัติศาสตร์อย่างมากมาย จากข้อมูลที่เผยแพร่ก่อนพระราชพิธีและภาพที่ปรากฏวันนี้ยืนยันแล้วว่าสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะประทับในราชรถ The Diamond Jubilee Coach เพื่อเสด็จจากพระราชวังบักกิงแฮมสู่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ท่ามกลางบรรยากาศของประชาชนที่มารอรับเสด็จเนืองแน่นตามถนนแห่งกรุงลอนดอน

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกอังกฤษ, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกชาร์ลส์ที่ 3, กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3, สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3, Charles III coronation

สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ประทับบนราชรถ Diamond Jubilee เสด็จออกจากพระราชวังบักกิงแฮมในช่วงเช้าของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก / ภาพ: The Royal Family

     ราชรถดังกล่าวมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์อังกฤษอยู่มากทีเดียว และที่สำคัญคือแม้จะผ่านพระราชพิธีมาจำนวนหนึ่ง แต่ราชรถคันนี้จะถูกใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งแรกในประวัติกาล โดยราชรถกำลังม้าลาก 6 ตัวนี้ สรรสร้างขึ้น ณ ประเทศออสเตรเลียโดยเป็นฝีมือของ W.J. Freckleton ช่างทำราชรถชั้นครู แต่เดิมราชรถถูกผลิตขึ้นเพื่อส่งมอบเปรียบดั่งของขวัญสำหรับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองพระชนม์พรรษา 80 ปี ทว่าเกิดความล่าช้าจนทำให้ต้องเลื่อนและเคลื่อนย้ายมาถึงอังกฤษปี 2012 ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเฉลิมฉลอง Diamond Jubilee หรือการครองราชย์ครบ 60 ปีพอดิบพอดี

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกอังกฤษ, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกชาร์ลส์ที่ 3, กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3, สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3, Charles III coronation

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อครั้งประทับบนราชรถ Diamond Jubilee / ภาพ: Yorkshire Post

     ตอนแรกราชรถคันนี้มิใช่สิทธิ์ครอบครองของราชวงศ์อังกฤษโดยสมบูรณ์เพราะช่างฝีมือทำขึ้นผ่านการรับรองของราชวงศ์เท่านั้น มิได้ทำตามคำสั่งแต่อย่างใด กล่าวคือดับเบิ้ลยูเจต้องการทำเพื่อเฉลิมฉลองเป็นการส่วนตัว ทว่า Royal Collection Trust ก็รวบรวมทรัพย์เพื่อใช้ในพระราชพิธีได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งราชรถถูกใช้ครั้งแรกในปี 2014 กับพิธีเปิดประชุมสภา ซึ่งราชรถคนดังกล่าวถือเป็นพระราชพาหนะยุคใหม่โดยสมบูรณ์ เพราะแม้จะรูปลักษณ์และกลไกการขับเคลื่อนแบบดั้งเดิม ทว่ามีระบบไฟฟ้า ระบบควบคุมอุณหภูมิ และระบบไฮดรอลิกเต็มรูปแบบ



WATCH




พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกอังกฤษ, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกชาร์ลส์ที่ 3, กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3, สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3, Charles III coronation

รายละเอียดด้านข้างของราชรถ Diamond Jubilee / ภาพ: Wiki Library

     ความสำคัญของราชรถคันนี้คือการรวบรวมประวัติศาสตร์อังกฤษมาลงรายละเอียดไว้อย่างครบถ้วน ไม้ส่วนต่างๆ ถูกนำมาจากสถานที่หรือสิ่งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์อังกฤษ อาทิ ไม้ส่วนบนหลังคาจาก เรือ HMS Victory ส่วนมือจับมีส่วนไม้จาก Royal Yacht Britannia นอกจากนี้วัสดุต่างๆ ยังนำมาจาก พระราชวังสำคัญของอังกฤษทั้งสิ้น รวมถึงสถานที่สำคัญทางศาสนาอีกด้วย มากไปกว่านั้นยังมีการบอกเล่าเรื่องราวผ่านวัฒนธรรมสำคัญของอังกฤษ เช่น Shakespeare, Charles Darwin, Sir Isaac Newton และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน นับเป็นราชรถที่เปี่ยมไปด้วยเรื่องราวแม้จะเป็นราชรถที่ใหม่ที่สุดคันหนึ่งของราชวงศ์อังกฤษก็ตาม

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกอังกฤษ, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกชาร์ลส์ที่ 3, กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3, สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3, Charles III coronation

ราชรถ Gold State ที่ถือเป็นพระราชพาหนะอันเปี่ยมไปด้วยประวัติศาสตร์หลายศตวรรษ / ภาพ: Encyclopedia Britannica

     ในขณะที่ราชรถสำหรับการเสด็จมาถึงมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์นั้นใช้ราชรถที่ใหม่ที่สุด ในส่วนการเสด็จกลับพระราชวังบักกิงแฮมนั้นแตกต่างออกไป เพราะมีการกล่าวถึง The Gold State Coach หรือราชรถเก่าแก่ที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 มาตั้งแต่ปี 1831 นับเป็นหนึ่งในราชรถที่เก่าแก่และเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวมากที่สุด โดยราชรถดังกล่าวถูกออกแบบโดย Sir William Chambers และสรรสร้างขึ้นในเวิร์กช็อปของ Samuel Butler ใช้ทุนทรัพย์ 7,562 ปอนด์ ในยุคนั้น หากเทียบค่าเงินปัจจุบันจะอยู่ราวๆ 3.5 ล้านปอนด์ ซึ่งราชรถเสร็จสมบูรณ์ในปี 1762

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกอังกฤษ, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกชาร์ลส์ที่ 3, กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3, สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3, Charles III coronation

Giovanni Battista Capriani ศิลปินผู้วาดลวดลายอันตราตรึงลงบนราชรถ Gold State / ภาพ: Royal Academy of Arts

     ราชรถขนาด 8.8 x 3.7 เมตร นี้ถูกใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมาทุกยุคทุกสมัยนานร่วม 2 ศตวรรษ มีรายละเอียดสำคัญคืองานแกะสลักชั้นยอดและงานเพนต์จาก Giovanni Battista Cipriani ศิลปินภาพเขียนและนักแกะสลักชาวอิตาเลียน นอกจากรายละเอียดความสวยงามแล้วน้ำหนักของราชรถคันนี้ยังมากโขถึงขนาดต้องใช้กำลังม้า 8 ตัวกับการลากในจังหวะเดินเท่านั้น นับเป็นหนึ่งในราชรถขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับงานสำคัญเท่านั้น อีกทั้งยังมีการประดับตกแต่งเสริมที่ละเอียดลออสวนทางกับขนาดจนทำให้นี่เป็นราชรถที่เปี่ยมไปด้วยเรื่องราวและความสวยงามที่สุดของโลกเลยก็ว่าได้

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกอังกฤษ, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกชาร์ลส์ที่ 3, กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3, สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3, Charles III coronation

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ขณะประทับบนราชรถ Gold State / ภาพ: Good Housekeeping

     สัญญะในราชรถคันนี้ยังบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์และความเชื่อเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ชัยชนะสงคราม 7 ปีต่อฝรั่งเศสที่ปิดฉากในปีที่ราชรถสรรสร้างเสร็จสมบูรณ์พอดี เทพไทรทัน รวมถึงสัญญะของกองเรืออังกฤษซึ่งถือว่าเป็นกองเรือที่มีประสิทธิภาพและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกทุกยุคทุกสมัย แต่แม้จะสวยงามและเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวราชรถคันนี้จะปรากฏในแค่พระราชพิธีสำคัญระดับสูงเช่นพระราชาภิเษกเท่านั้น เนื่องจากความสะดวกสบายในการใช้งานค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับราชรถคันใหม่ แต่ยังคงมิติด้านความสะดวกสบายตามแบบฉบับดั้งเดิมกับการตกแต่งภายในด้วยกำมะหยี่และผ้าซาติน สะท้อนความหรูหราในเวลาเดียวกัน การที่ทุกคนได้ยลโฉมราชรถ 2 คันนี้ในวันเดียวกันถือเป็นประสบการณ์ที่ยากจะได้สัมผัส และไม่มีการการันตีว่าพระราชพิธีครั้งหน้าจะมีการใช้ราชรถเซ็ตเดิมหรือไม่ ทำให้การได้เห็นการเสด็จไปกลับพระราชวังบักกิงแฮมและมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ครั้งนี้มีความพิเศษตรงจุดนี้อย่างแท้จริง

 

ข้อมูล:

telegraph.co.uk

countryliving.com

WATCH