LIFESTYLE
5 หน้าปกอัลบั้มจากยุค 80s ที่ยังคงความไอคอนิกและคลาสสิกเหนือกาลเวลาถึงปัจจุบันไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ในยุค 80s ถือเป็นหนึ่งในยุคสมัยที่วัฒนธรรมป๊อปคัลเจอร์เฟื่องฟูที่สุดในประวัติศาสตร์ |
ในยุคปัจจุบันที่การฟังเพลงส่วนใหญ่ถูกบรรจุอยู่ในรูปแบบสตรีมมิ่ง ที่เพียงปลายนิ้วคลิกก็สามารถฟังได้แทบทุกเพลงในโลกตามใจต้องการ ทำให้ความสำคัญของ ‘หน้าปกอัลบั้ม’ ลดลงไป เช่นเดียวกับตัวศิลปินเองที่ก็เน้นการปล่อยเพลงเป็นซิงเกิล มากกว่าจะปล่อยออกมารวดเดียวทั้งอัลบั้ม
ทว่าหากย้อนกลับไปในอดีต ยุคที่กว่าจะได้ฟังเพลงต้องเดินเข้าไปซื้อแผ่นเสียง ตลับเทปคาสเซ็ต หรือแผ่นซีดีในร้านค้า แล้วกลับมานั่งฟังผ่านเครื่องเสียงที่บ้าน หน้าปกอัลบั้มถือเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะนอกจากจะใช้เพื่อฟังแล้ว อัลบั้มยังเป็นของสะสม ดังนั้นหน้าปกจึงต้องทั้งสวยงาม และสามารถบอกเล่าเรื่องราวของบทเพลงที่บรรจุอยู่ข้างในได้
โดยเฉพาะในทศวรรษ 80 ที่ถือเป็นหนึ่งในยุคสมัยที่วัฒนธรรมป๊อปคัลเจอร์เฟื่องฟูที่สุดในประวัติศาสตร์ และมันก็สะท้อนออกมาผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ เกม บทเพลง และแน่นอนว่ารวมถึงหน้าปกอัลบั้มของศิลปินที่มาพร้อมกับความไอเดียล้ำลึก ดีไซน์ฉูดฉาด จนกลายเป็นความไอคอนิคและคลาสสิคเหนือกาลเวลาถึงปัจจุบัน ดั่งเช่นทั้ง 5 หน้าปกที่หยิบยกมากล่าวถึงในบทความนี้
Bruce Springsteen, Born in the U.S.A. (1984)
Bruce Springstee คือร็อคสตาร์ผู้เปรียบเสมือนตัวแทนแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา และหน้าปกอัลบั้ม Born in the U.S.A. ที่ปล่อยออกมาในปี 1984 ก็ได้สะท้อนตัวตนของเขาทั้งหมดไว้อย่างชัดเจนในทุกองค์ประกอบ
ไม่ว่าจะเป็นสีแดงขาวที่เป็นพื้นหลังซึ่งมาจากผืนธงชาติอเมริกา รวมถึงการแต่งกายด้วยกางเกงยีนส์ และเสื้อสีขาว ที่ไม่ว่าจะมองมุมไหนก็ดูเป็นหนุ่มอเมริกันจอมขบถตัวจริง
The Smiths, The Queen is Dead (1986)
The Smiths คือหนึ่งในวงดนตรีที่ประสบความสำเร็จที่สุดในทศวรรษที่ 80 ดังนั้นหน้าปกอัลบั้ม The Queen is Dead จึงเป็นหน้าปากที่ทุกคนน่าจะคุ้นตากันเป็นอย่างดี ส่วนบุรุษที่นอนอยู่ในภาพก็ไม่ใช่ใคร เขาคือ Alain Delon นักแสดงมาดเท่ชาวฝรั่งเศส จากภาพยนตร์เรื่อง L'Insoumis ที่ว่าด้วยการพยายามดิ้นรนกลับสู่บ้านเกิด หลบหนีจากตัวตนเก่าที่คอยตามหลอกหลอน เช่นเดียวกับเนื้อหาของเพลงในอัลบั้ม The Queen is Dead หลายเพลง
Prince, Sign O The Times (1987)
WATCH
บทเพลง และรวมถึงหน้าปกอัลบั้มต่างๆ ของเขาด้วย
Sign O The Times คือหน้าปกอัลบั้มลำดับที่ 9 ของเขา และอาจกล่าวได้ว่าคือหน้าปกที่มีความโดดเด่นที่สุดในทุกอัลบั้ม ไม่ว่าจะเป็นการจัดองค์ประกอบภาพ สีสันสะดุดตา นอกจากนั้นยังแฝงไว้ด้วยความหมายล้ำลึกอีกด้วย
หน้าปกนี้จะเห็นตัวของ Prince อย่างพร่าเลือนในมุมขวาล่างของภาพเท่านั้น โฟกัสสำคัญจะอยู่ที่เซ็ตเครื่องดนตรีบทเวทีด้านหลัง ส่วนผ้าใบในฉากหลังนั้นมาจากละครเพลงเรื่อง Guys & Dolls สื่อความหมายว่าไม่ต้องสนใจตัวตนของเขามากนัก เพราะชีวิตและจิตวิญญาณของ Prince คือดนตรี
U2, Boy (1980)
เด็กผู้ชายในภาพมีชื่อว่า Peter Rowen เป็นน้องชายของ Derek Rowen มือกีตาร์ของวงดนตรีสัญชาติไอริช The Virgin Prunes ซึ่งสนิทสนมกับสมาชิกวง U2
Boy คืออัลบั้มแรกของวง U2 ก่อนที่ในภายหลังพวกเขาจะกลายเป็นตำนานแห่งประวัติศาสตร์ร็อค ที่พวกเขาเลือกใช้หน้าปกอัลบั้มรูปแบบนี้ก็เพราะต้องการจะสื่อให้เห็นถึงความไร้เดียงสา ขาวสะอาด ที่เปรียบเสมือนกับจุดเริ่มต้นของพวกเขา
ทว่าเมื่อวางขายในทวีปอเมริกาเหนือ U2 จำเป็นต้องเปลี่ยนหน้าปกเป็นรูป Portrait ธรรมดาของสมาชิกวง เนื่องจากความห่วงใยทางกฎหมายที่เด็กผู้ชายในภาพจะเป็นเหยื่อของพวกใคร่เด็ก (Paedophiles)
Metallica, Master of Puppets (1986)
วงเมทัลส่วนใหญ่มักจะแสดงความเกรี้ยวกราดออกมาผ่านซาตานและลัทธิความเชื่อต่างๆ แต่ไม่ใช่สำหรับ Metallica เพราะวงเมทัลระดับตำนานวงนี้เลือกนำเสนอ “ความโหดร้ายของชีวิตจริง” ผ่านหน้าปกอัลบั้มมาสเตอร์พีซของพวกเขา Master of Puppets
หลุมศพของเหล่าทหารกล้าที่เรียงรายไปจนสุดสายตา มีเชือกผูกไว้เชิดลงมาจากมือปริศนา ตัดขนานกับท้องฟ้าสีโลหิต นี่คือข้อความที่ Metallica ต้องการสะท้อนให้เห็นว่าชีวิตที่ตายในสนามรบต่างก็เป็นหุ่นเชิดของเหล่าผู้มีอำนาจทั้งสิ้น
WATCH