
LIFESTYLE
เชียร์ลีดเดอร์คืนสนาม! การกลับมาในรอบ 5 ปีของฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75หลังจากห่างหายไปนานของงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ในปีนี้ เหล่าเชียร์ลีดเดอร์ของทั้งสองมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นไฮไลต์สำคัญของงานได้กลับมาอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมส่องเอกลักษณ์และแนวทางการปรับตัวของคนรุ่นใหม่ที่จะถูกนำเสนอในงานฟุตบอลครั้งนี้ |
ต้ังแต่สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 และข้อที่ถกเถียงกันที่เกิดข้ึนของการบังคับให้นักศึกษาข้ึนแปรอักษร หรือแบกเสลี่ยงอัญเชิญพระเกี้ยว รวมไปถึงการต่อต้านการมีอยู่ของบิวต้ีสแตนดาร์ดที่ถูกพูดถึงอย่างมากในตอนน้ี ทำให้งานฟุตบอลประเพณีอันเป็นที่รักของเหล่าศิษย์เก่าและนิสิตนักศึกษาถูกหยุดชะงักเป็นเวลาถึง 5 ปี โดยงานคร้ังล่าสุดที่ถูกจัดข้ึนคือ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์คร้ังที่ 74 ในปี 2563 ทำให้สีสันความสนุกของท้ังสองมหาวิทยาลัยขาดหายไปเป็นเวลานาน
แต่ในปีน้ีท้ังสองมหาวิทยาลัยได้จับมือกันเพื่อผลักดันให้งานกลับมาจัดข้ึนอีกคร้ัง นำโดยสมาคมศิษย์เก่าของท้ังสองมหาวิทยาลัย ซึ่งจะถูกจัดข้ึนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 น้ีณ สนามศุภชลาสัย และเมื่อเราพูดถึงงานฟุตบอลประเพณีสิ่งที่จะถูกนำ มากล่าวถึงอยู่ในทุกๆ คร้ังไปก็คือเชียร์ลีดเดอร์ของท้ังสองมหาวิทยาลัยนั่นเอง พวกเขาจะมาเป็นผู้นำเชียร์ที่จะแสดงไปพร้อมเพลงมหาวิทยาลัยจากท้ังสองฝั่งอย่างสวยงามที่คงเป็นธรรมเนียมมายาวนานหลายสิบปีแต่เนื่องด้วยเวลาที่ผ่านไป คนรุ่นใหม่กับมุมมองใหม่ๆ เทคโนโลยีที่เข้ามา แพลตฟอร์มที่ต่างออกไปจากเดิม พวกเขาจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อยังคงเอกลักษณ์ความสวยงามของตน พร้อมท้ังปรับตัวให้เข้ากับกระแสสังคมที่เกิดข้ึนในปัจจุบัน
เริ่มต้นด้วยฝั่งทีมธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเจ้าภาพของงานฟุตบอลประเพณีคร้ังที่ 75 น้ีนอกจากน้ีธรรมศาสตร์ยังเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่เปิดโฉมสมาชิกเชียร์ลีดเดอร์รุ่นใหม่ท้ังหมด 17 คน ต้ังแต่เดือนพฤศจิกายนแล้ว และ ณ ตอนน้ีพวกเขาได้ผ่านการฝึกซ้อมมาเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน โดยทางเชียร์ลีดเดอร์ธรรมศาสตร์ได้เตรียมความพร้อมที่จะมาโชว์การลีดด้วยเอกลักษณ์ของความแข็งแกร่งและความอ่อนช้อยนั่นเอง
ตามด้วยทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีจำนวนสมาชิก 17 คน เช่นเดียวกันกับฝั่งธรรมศาสตร์ถึงพวกเขาจะมีเวลาฝึกซ้อมน้อยกว่าถึงครึ่งหนึ่ง แต่ก็ทุ่มเทฝึกฝนกันอย่างหนัก เพื่อที่จะมาข้ึนแสดงต่อหน้าเหล่าศิษย์จุฬาฯ ท้ังหลาย ที่จะมารอเชียร์ในงานคร้ังน้ีด้วยเอกลักษณ์ความอ่อนช้อยและสวยงามของท่วงท่าเช่นกัน
อย่างไรก็ตามการกลับมาของพวกเขาท่ามกลางการคัดค้านบิวต้ีสแตนดาร์ดที่หลายฝั่งพูดถึง พวกเขาจะปรับตัวในรูปแบบไหน และจะสามารถตอบสนองกระแสสังคมที่เกิดข้ึนได้หรือไม่ แต่ด้วยการเข้ามาของสื่อเทคโนโลยีท้ังสองมหาวิทยาลัยที่มีการปรับเปล่ียนการโปรโมตได้อย่างชัดเจน ด้วยการสร้างคอนเทนต์ผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น อินสตาแกรม หรือติ๊กต๊อกให้มากข้ึน เพื่อให้เข้าถึงผู้ที่ติดตามรุ่นใหม่อย่าง GEN Z ซึ่งทำให้เกิดการแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานประเพณีฟุตบอลคร้ังที่ 75 ได้เป็นอย่างดี
จนถึงตอนน้ีก็ทำให้เห็นว่า พวกเขาตื่นตัวและพร้อมที่จะปรับตัวเพื่อให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของคนรุ่นใหม่และเทคโนโลยีที่เข้ามาได้อย่างรวดเร็ว เพียงแต่ตอนน้ีที่เราทุกคนกำลังเฝ้ารอสิ่งที่จะเกิดข้ึน นับถอยหลังเพื่อรอชมความสวยงาม เข้มแข็ง และอ่อนช้อย จากการแสดงของเหล่าเชียร์ลีดเดอร์จากท้ังสองมหาวิทยาลัยที่กำลังจะมาสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับประเทศ
WATCH