LIFESTYLE

เปิดสัมภาษณ์เชียร์ลีดเดอร์จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์กับประเด็นเรื่อง BEAUTY STANDARD และ โซตัส!

ตัวแทนเชียร์ลีดเดอร์ของทั้งสองมหาวิทยาลัยมาให้สัมภาษณ์เจาะลึกเกี่ยวกับการฝึกซ้อมที่หนักหน่วงและมุมมองเกี่ยวกับ BEAUTY STANDARD และระบบโซตัส

     ตั้งตารอและอดใจไม่ไหวกับงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ คร้ังที่75 ที่กำลังจะจัดข้ึนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 น้ีหลังจากที่ห่างหายกันไปนานถึง 5 ปี แต่เมื่อไม่นานมาน้ีมีประเด็นที่เกิดการถกเถียงกันมากมายถึงเรื่องของเชียร์ลีดเดอร์ที่ถูกโยงเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่อง Beauty Standard พวกเขามีมุมมองและการเปิดรับข้อมูลใหม่ๆ อย่างไรกับความคิดเห็นเหล่านี้ 

 

Vogue: บทบาทสำคัญของเชียร์ลีดเดอร์มหาวิทยาลัยในงานฟุตบอลประเพณีที่หลายคนยังไม่ทราบคืออะไรบ้าง

ชาช่า(ตัวแทนจุฬาฯ): ถ้าแปลคำว่าเชียร์ลีดเดอร์ในภาษาอังกฤษ ก็จะแปลว่าตรงตัวเลยคือผู้นำเชียร์ หน้าที่ของเราคือถ้าสมมติว่าลีดไปที่สแตนไหน ลีดก็จะมีหน้าที่นำเชียร์ให้กับกองเชียร์นักกีฬา เพราะฉะน้ันถ้าไม่มีลีดก็จะไม่มีใครนำเพื่อร้องเพลงปลุกใจนักกีฬา และอีกหน้าที่หนึ่งของลีดคือการสืบสานเพลงของมหาวิทยาลัย ซ่ึงตอนน้ีมี “BAKA on tour” ก็คือการที่เราจะไปร้องเพลงเชียร์ตามคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ทุกคนได้รู้จักและคุ้นเคยกับเพลงของม. ถือเป็นการอนุรักษ์ความเป็นจุฬาฯ รูปแบบหนึ่ง

ปัน(ตัวแทนธรรมศาสตร์): ในวันงานบอล ลีดคือผู้นำเชียร์ที่ต้องใช้ความสามารถทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อที่จะปลุกกองเชียร์สร้างกำลังใจให้กับนักกีฬา หลายๆ คนอาจจะมีภาพจำว่าลีดเป็นแค่ผู้ที่โชว์ลีดพร้อมเพลงม.กลางสนามเพียงพิธีเปิดและพิธีปิด แต่จริงๆ แล้วลีดยังต้องวิ่งรอบสนามไปอยู่หน้าสแตนในทุกๆ สแตน เพื่อนำให้กองเชียร์ร้องเพลงม.ปลุกใจ นักกีฬาอีกด้วยครับ และผมยังมองว่าอีกบทบาทของลีดคือความสามารถในการสืบทอดความเป็นธรรมศาสตร์ผ่านเพลง และรวมถึงท่าลีดที่ซ่อนความหมายไว้ในทุกๆ ท่าเช่นกัน

 

Vogue: ฝึกซ้อมหนักแค่ไหน ทางทีมต้องเตรียมตัวอย่างไรและอะไรคืออุปสรรคของการเป็นลีดบ้าง

ตัวแทนจุฬาฯ: ฝึกซ้อมหนักค่ะ เพราะด้วยทางจุฬาฯ มีเวลาซ้อมที่ค่อนข้างน้อยและจำกัดเพียงประมาณสองเดือน การสอนจึงค่อนข้างเข้มข้นมากเพราะเราต้องลีดเพลงม.ซึ่งมีจำนวนหลายเพลง ต้องอาศัยความแข็งแรงและความอึดของร่างกาย โชคดีค่ะที่เรามีกิจกรรม Physical Training ให้กับสมาชิกลีด ซึ่งค่อนข้างช่วยได้เยอะในการเตรียมความพร้อมของร่างกายและกล้ามเน้ือ และถ้าพูดถึงส่วนของการซ้อม รุ่นพี่ที่สอนค่อนข้างโฟกัสถึงความสุขของน้องเป็นหลักค่ะ พวกเขาค่อนข้างถนอมเราโดยการสอนพร้อมเหตุผลและอยากให้เราทำกิจกรรมเพราะมีความสุขอย่างแท้จริง ทำให้เราค่อนข้างแฮปป้ีค่ะ

ตัวแทนธรรมศาสตร์: ฝึกซ้อมหนักครับ การลีดต้องใช้ความพร้อมและความแข็งแรงมาก ยิ่งเราซ้อมกันเป็นทีม เรามีตั้ง 17คน 24 แขน ต้องการการซ้อมที่เยอะมากๆ เพื่อให้ภาพออกมาพร้อมกัน อุปสรรคที่ผมเห็นคือเราต้องจัดการตัวเองให้ดี ต้องมีความรับผิดชอบ ไม่ใช่แค่เรื่องงานเรื่องเรียนอย่างเดียวแต่รวมถึงเรื่องสุขภาพที่ต้องดูแลให้แข็งแรง กินอาหารให้ครบกับที่ร่างกายต้องใช้ไปตามที่รุ่นพี่แนะนำครับ

 

Vogue: แล้วเคยได้ยินเรื่อง Beauty Standard หรือระบบโซตัสหรือไม่ หลายคร้ังที่ลีดถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องน้ี คุณมีความคิดเห็นอย่างไร หรือเคยได้รับผลกระทบจากเรื่องน้ีบ้างหรือไม่

ตัวแทนจุฬาฯ: เคยค่ะ เมื่อก่อนเราก็เคยมีความคิดว่าแค่สวยก็สามารถเป็นลีดได้แล้วไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ แต่พอเราได้เข้ามาในองค์กรแล้วทำให้เราได้รู้ว่า มันคือเรื่อง Performance ความมั่นใจ คุณข้ึนไปบนเวทีแล้วสามารถสะกดคนดูได้หรือไม่ ออกมาเป็นภาพรวมทั้งหมด ส่วนเรื่องโซตัสไม่มีค่ะ การซ้อมของเราไม่มีการทำโทษแบบที่เรียกว่าโซตัสแล้ว เหมือนที่เขาพูดกันว่า “สมัยนี้ไม่มีใครตีลูกแล้ว” ในทุกขั้นตอนการซ้อม เวลาซ้อมพี่ที่สอนจะให้เหตุผลทุกอย่างและปรับให้น้องมากที่สุดค่ะ ส่วนตัวไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องน้ีแต่หลังจากเกิดดราม่าก็รู้สึกว่าถูกจับตามองมากข้ึนเวลาซ้อม ส่วนเราเองก็เปิดรับแล้วก็รับฟังสิ่งที่เกิดข้ึนเช่นกันค่ะ

ตัวแทนธรรมศาสตร์: เคยครับ ถ้าพูดถึงเรื่องน้ีกับลีดเรามองเป็นภาพรวมทั้งหมดครับ ความสวยงามไม่ได้เป็นอย่างเดียว ที่เราดูมันคือเรื่องบุคลิกภาพ ความมั่นใจ พัฒนาการและอีกมากมาย ทั้งหมดน้ีเป็นหลายปัจจัยในการคัด ซึ่งทางเราก็มีการปรับให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปแล้ว ถ้าพูดถึงเรื่องโซตัส ไม่มีครับ ถ้าเทียบกับตอนที่ผมเคยเป็นลีดคณะมาก่อน รู้สึกว่าการเป็น TUCL ซ้อมสบายกว่าอีกครับ “ไม่มี Culture ที่ไม่เมกเซนส์” ไม่มีการทำโทษ หรือการตะคอกทำร้ายด้วยคำพูดเลยครับ พี่ที่สอนก็ปล่อยให้เลิกเร็วเพื่อให้เราได้มีเวลากลับดูแลตัวเองและพวกเขาพูดตลอดว่า “ไม่สนับสนุนให้ใช้ร่างกายหนักจนเกินไป เพราะถ้าร่างพัง ร่างน้ีจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต” ผมว่าค่อนข้างดีมากครับ ถึงเราจะซ้อมหนักแต่ก็ได้เซฟร่างกายเราด้วยเหมือนกัน

 



WATCH




Vogue: แล้วเคยกดดันหรือไม่มั่นใจเพราะ Beauty Standard บ้างไหม

ตัวแทนจุฬาฯ: เคยค่ะ พอเราเข้ามาในองค์กรทำให้เราได้เจอรุ่นพี่หลายคน เราเห็นพวกเขาแล้วรู้สึกว่า พวกเขาสมบูรณ์แบบมาก ค่อนข้างเพียบพร้อมทั้งเรื่องหน้าตาและความสามารถ ทำให้เราที่เพิ่งเข้ามากดดันค่ะ กลัวว่าเราจะไม่สามารถทำมาตรฐานได้เหมือนรุ่นพี่ค่ะ

ตัวแทนธรรมศาสตร์: เคยครับ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องความไม่มั่นใจของผมครับ ส่วนตัวผมเป็นคนมีปัญหาเรื่องร่างกายครับ เช่นผิวพรรณหรือรูปร่าง ที่บางคร้ังเราจะนำไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ทำให้เราขาดความมั่นใจไปครับ

 

Vogue: สุดท้ายนี้ อยากฝากอะไรกับชาวโว้กหน่อย แล้วเราสามารถตั้งตารอชมอะไรจากพวกคุณได้บ้าง

ตัวแทนจุฬาฯ: เรามั่นใจว่าจุฬาฯ คัดคนเก่งเข้ามาทำงานจริง และรุ่นน้ีเก่งและมีความสามารถรับรองว่าจะได้เห็นอะไรใหม่ๆ จากลีดในยุคใหม่น้ีอย่างแน่นอน ฝากเป็นกำลังใจให้พวกเราแล้ว อย่าลืมมาเชียร์พวกเราในวันที่ 15 กุมภาพันธ์น้ีค่ะ ขอบคุณค่ะ

ตัวแทนธรรมศาสตร์: นี่คือการกลับมาคร้ังยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี พวกเราเตรียมโชว์สุดพิเศษมากมาย ที่ทั้งสนุกและไม่ผิดหวัง สมการรอคอยแน่นอน อย่าลืมมาเชียร์ทีมธรรมศาสตร์ วันที่ 15 กุมภาพันธ์น้ีนะครับ ขอบคุณครับ

 

WATCH