LIFESTYLE
4 STEPS วางแผนการเงินฉบับเข้าใจง่าย ปรับใช้ได้จริง เพื่อชีวิตมั่งคั่งวางแผนการเงินให้ดี ช่วยให้ชีวิตมีความสุข และปลอดจากความเสี่ยงได้มากกว่า |
‘เงิน’ แม้จะไม่ใช่หนึ่งในปัจจัย 4 แต่คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเงินก็คือสิ่งที่สามารถนำไปสู่ปัจจัย 4 และความสะดวกสบายแก่ชีวิตในด้านอื่น ๆ และคงจะไม่ใช่เรื่องที่ดีนักหากคุณต้องประสบปัญหาทางการเงินในภาวะวิกฤต อย่างเช่นในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมาที่หลาย ๆ คนอาจจะต้องประสบปัญหาทั้งถูกให้ออกจากงาน หรือถูกลดเงินเดือน
สถิติจากธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมาพบว่าบัญชีเงินฝากของคนไทยที่มียอดฝากน้อยกว่า 50,000 บาทมีจำนวนมากกว่า 97 ล้านบัญชีคิดเป็นร้อยละกว่า 87 จากจำนวนบัญชีเงินฝากทั้งหมด จากสถิติข้างต้นอาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นว่าการวางแผนการเงินอาจจะยังไม่รัดกุมมากพอที่จะทำให้มีเงินเก็บมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สายเกินไปที่คุณจะเริ่มวางแผนการเงินให้กับตัวเอง เพื่อการใช้ชีวิตที่ไร้กังวลมากขึ้น
รู้รายรับไว้ก่อน คุณจะได้ไม่ประเมินการใช้จ่ายของคุณให้สูงจนเกินไป / ภาพ: New Yorker
STEP 1 : สำรวจรายได้ของตนเอง
ก่อนที่จะเริ่มลงมือวางแผนการเงิน คุณควรจะทราบก่อนว่ารายรับที่คุณได้ในแต่ละเดือนมีจำนวนเท่าไหร่ และมาจากกี่ช่องทาง ไม่ว่าจะจากเงินเดือนประจำที่เป็นรายได้หลัก งานเสริม หรือหลาย ๆ คนอาจจะมีธุรกิจเป็นของตนเอง การสำรวจรายได้สุทธิจากการทำงานจะช่วยให้คุณประเมินได้โดยคร่าวว่ารายรับในแต่ละเดือนอยู่ที่ประมาณกี่บาท
เช็คให้ชัวร์ว่ารายจ่ายของคุณมีอะไรบ้าง / ภาพ: Variety
STEP 2 : สำรวจหนี้สินของตนเอง
เมื่อสำรวจรายรับเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการสำรวจหนี้สินที่มีในแต่ละเดือน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายรายเดือนที่จำเป็นต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างเช่นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง หรือถ้าหากอยู่ในที่พักอาศัยแบบให้เช่าก็จะมีค่าเช่าที่ต้องคิดเพิ่มเติม การสำรวจหนี้สินมีความสำคัญ และจำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนยิ่งกว่าการสำรวจรายรับ เพราะจะทำให้คุณทราบได้แน่ชัดว่าคุณมารายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายเท่าไหร่ และยังช่วยให้คุณไม่หลงลืมการชำระหนี้จนเกิดเป็นปัญหาในภายหลังได้
WATCH
วางแผนให้ดี แบ่งส่วนรายได้ของคุณเพื่อเหลือเงินเก็บสำหรับต่อยอด / ภาพ: The-Club
STEP 3 : แบ่งส่วนรายได้
หลังจากประเมินรายรับ และรายจ่ายในแต่ละเดือนได้แล้ว คุณควรจะแบ่งส่วนรายได้ของคุณออกเป็นส่วนต่าง ๆ เพื่อประเมินการใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้ว่าคุณจะเหลือส่วนสำหรับส่วนอื่นเท่าใด โดยคุณอาจจะแบ่งส่วนรายได้ของคุณเป็นเงินสำหรับชำระหนี้สิน และค่าใช้จ่ายประจำ, เงินสำหรับเก็บออม, เงินสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง, เงินสำหรับค่าอาหาร และการใช้จ่ายประจำวัน รวมไปถึงเงินสำหรับการลงทุน
เลือกลงทุนไว้ซักหน่อยไม่ว่าจะเป็นในกองทุน อสังหา หรือสินค้ามูลค่าสูง / ภาพ: Pop Sugar
STEP 4 : ลงทุนเพิ่มเติม
อย่างที่ทราบกันดีว่าดอกเบี้ยที่ได้จากเงินฝากบัญชีออมทรัพย์ในปัจจุบันไม่ได้มีมูลค่าสูงอย่างในอดีต ดังนั้นคุณควรจะลองมองหาการลงทุนรูปแบบอื่น ๆ ที่สามารถทำให้เงินของคุณงอกเงยได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ อาจจะลองเริ่มต้นด้วยการฝากเงินในบัญชีฝากประจำที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าการฝากออมทรัพย์, การลงทุนในกองทุน, การลงทุนในหุ้น รวมไปถึงการลงทุนในสกุลเงินดิจิตัลที่อาจจะทำกำไรได้มากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ และการรับความเสี่ยงในแต่ละบุคคลซึ่งควรศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน
ขั้นตอนง่ายๆเพียงแค่ 4 ขั้นตอนนี้ข้างต้นน่าจะเป็นตัวช่วยให้คุณสามารถเริ่มวางแผนการเงินเพื่อการใช้ชีวิตได้อย่างไร้กังวล อีกทั้งยังมีผลงอกเงยจากเงินที่ลงทุนเพิ่มเติมเพื่อชีวิตในวัยเกษียณที่มีคุณภาพได้ด้วย
ข้อมูล:
WATCH