FASHION
ถอดรหัส: ทำไมการคว้ารางวัล CFDA ในปีนี้ของ Raf Simons ถึงยิ่งใหญ่ ทั้งที่เขาเคยได้รางวัลมาแล้ว?Raf Simons ดีไซเนอร์มือทองแห่ง Calvin Klein สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการกวาดรางวัลดีไซเนอร์แห่งปีทั้งสาขาเสื้อผ้าผู้ชายและเสื้อผ้าผู้หญิงไปครองสองรางวัลรวด โว้กพาไปถอดรหัสว่าทำไมการได้รางวัลครั้งนี้ถึงยิ่งใหญ่กว่าครั้งก่อน และยุคของเขาที่ Calvin Klein เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง? |
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ติดตามความเคลื่อนไหวการเปลี่ยนเก้าอี้ของแฟชั่นดีไซเนอร์ ชื่อของ Raf Simons ย่อมไม่ได้คุ้นหูน้อยไปกว่า Karl Lagerfeld หรือ Alexander Wang ล่าสุดดีไซเนอร์เชื้อสายเบลเยียมคนนี้เพิ่งจดชื่อตัวเองลงในอีกหน้าประวัติศาสตร์ของเวที CFDA รางวัลอันทรงเกียรติของวงการแฟชั่นอเมริกา ด้วยการคว้ารางวัลใหญ่ของรายการ อย่างรางวัลดีไซเนอร์แห่งปีสาขาเสื้อผ้าผู้หญิง และรางวัลดีไซเนอร์แห่งปีสาขาเสื้อผ้าผู้ชาย ไปครองถึง 2 รางวัลรวดจากคอลเล็กชั่นฤดูใบไม้ร่วง 2017 ภายใต้แบรนด์ Calvin Klein แต่คำถามคือทำไมการได้รางวัลในครั้งนี้ของ Raf Simons ถึงเป็นที่ฮือฮา ทั้งที่ก่อนหน้านี้เขาก็เคยคว้ารางวัล CFDA สาขา International Award มาแล้วครั้งยังนั่งเก้าอี้ Creative Director ที่ Dior เมื่อปี 2014 เหตุใดการได้รางวัลในปีนี้ถึงมีนัยสำคัญ จนอาจทำให้เขากลายเป็นดีไซเนอร์ในตำนานอีกคนหนึ่ง
ความพิเศษของรางวัล CFDA ที่ Raf Simons ได้ในปีนี้
ในประวัติศาสตร์ของ CFDA มีดีไซเนอร์เพียง 6 คนเท่านั้นที่สามารถคว้ารางวัลใหญ่ไปครองถึง 2 สาขา นั่นคือสาขาเสื้อผ้าผู้หญิงและเสื้อผ้าผู้ชาย เมื่อปี 1990 Donna Karan คือดีไซเนอร์คนแรกที่หอบรางวัลใหญ่ครั้งแรกกลับบ้านไปก่อนและคว้ารางวัลที่สองตามมาในอีก 2 ปีให้หลัง แถมยังซ้ำรางวัลใหญ่อีกครั้งในสาขาเสื้อผ้าผู้หญิงปี 1996 ตามมาติดๆ ด้วย Ralph Lauren ที่กวาดไปถึง 3 รางวัลในปี 1995, 1996 และ 2007 ส่วน Michael Kors เองก็เคยรวบสองรางวัลมาแล้วเมื่อปี 1999 ในสาขาเสื้อผ้าผู้หญิง และปี 2003 ในสาขาเสื้อผ้าผู้ชาย นอกจากนี้ยังมี Marc Jacobs ที่เคยได้ไปถึง 3 รางวัล ตามมาด้วย Tom Ford เจ้าของรางวัล CFDA ถึง 2 ครั้ง ล่าสุดมาถึง Raf Simons ซึ่งเป็นดีไซเนอร์คนที่ 7 แห่งประวัติศาสตร์ที่คว้ารางวัล CFDA ไปครอง 2 สาขารวดนับตั้งแต่ย้ายมาอยู่ใต้ชายคา Calvin Klein ตามรอยผู้ก่อตั้งแบรนด์ที่เคยควบรางวัลกลับบ้านสองสาขารวดเช่นกันเมื่อปี 1993 และได้รางวัลใหญ่ไปประดับบ้านเพิ่มอีกหนึ่งตอนปี 1999 นั่นหมายความว่าชื่อของ Raf Simons ได้ถูกจดลงในลิสต์ 1 ใน 7 ดีไซเนอร์ที่สามารถควบรางวัลใหญ่ถึงสองสาขา จากดีไซเนอร์หลายร้อยคนที่เคยได้รางวัล CFDA นับแต่ปี 1980 เป็นต้นมา
การย้ายจาก Dior มาที่ Calvin Klein คือการตัดสินใจที่ถูกหรือไม่
“หลายอย่างผมทำไม่ได้ที่ Dior แต่ที่ Calvin Klein ผมทำได้” Raf Simons เคยให้สัมภาษณ์กับ Amuse ถึงเหตุผลที่เขาตัดสินใจทิ้งเก้าอี้ creative director ในแฟชั่นเฮาส์ที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับต้นๆ อย่าง Dior มานั่งแท่น chief creative officer ที่ Calvin Klein ดูแลทั้งเสื้อผ้าผู้ชายและผู้หญิง “ทุกคนย่อมอยากทำงานอะไรก็ตามที่เชื่อมโยงกับตัวเองได้ บอกตรงๆ เลยว่าเหตุผลที่ผมเลือกมาดูแล Calvin Klein เป็นเพราะที่นี่มีความหลากหลาย มีทั้งแฟชั่นระดับสูง ระดับกลาง ไปจนถึงติดดินกว่านั้นก็มี นั่นแปลว่าผมจะสามารถเข้าถึงคนทุกคนในโลกนี้ได้ สิ่งที่ผมทำที่นี่ มันไม่สามารถไปทำกับ Dior ได้” ดังนั้นถ้าเป้าหมายของดีไซเนอร์คนนี้คือการเข้าถึงโลกแฟชั่นให้ได้ทุกซอกทุกมุมแล้วล่ะก็ Calvin Klein คือตัวเลือกที่เอื้อให้เขาเดินตามอุดมการณ์ได้อย่างเปิดกว้างที่สุด
Calvin Klein ในยุคของ Raf Simons เป็นอย่างไร?
ย้อนกลับไปช่วงปี 1980s และ 1990s สมัยนั้น Calvin Klein นำเสนอโฆษณาชุดชั้นในที่มีหญิงสาวมาดเซ็กซี่และหุ่นสุดเพอร์เฟ็กต์อย่าง Brooke Shields และ Kate Moss เป็นนางแบบ และเพื่อเป็นการพิสูจน์อุดมการณ์ที่เขาเคยประกาศไว้ ทันที่ที่เข้าสู่ยุคใหม่ Raf Simons จัดการปล่อยแคมเปญชุดชั้นในล้างภาพจำแบบเก่าๆ ที่แบรนด์เคยสร้างไว้ในทันที เขากลับเข็มทิศและพาแบรนด์ก้าวไปสู่ทิศทางที่ผู้คนจะเข้าถึงชุดชั้นในของ Calvin Klein ได้มากขึ้นด้วยการเชิญ Lauren Hutton นักแสดงและนางแบบชื่อดังวัย 73 ปี มาเป็นนางเอกของแคมเปญนี้ในชุดชั้นในดีไซน์เรียบๆ และเสื้อเชิ้ตสีขาวสุดคลาสสิก และเชิญ Sofia Coppola ผู้กำกับหญิงเจ้าของรางวัลออสการ์มาลั่นชัตเตอร์ โดยไม่จำกัดว่าคุณจะต้องเป็นผู้หญิงที่เพอร์เฟ็กต์เท่านั้น ชุดชั้นใน Calvin Klein ถึงจะคู่ควรกับคุณเหมือนที่หลายคนเคยรู้สึก เห็นได้ชัดว่าเป้าหมายหลักของเขาคือการนำ Calvin Klein ไปสู่ทุกตลาดบนโลกแฟชั่นอย่างไร้เส้นแบ่ง
เหตุผลที่ต้องมี Calvin Klein by Appointment
ได้ชื่อว่าอดีตผู้สร้างสรรค์งานกูตูร์แห่ง Dior คงไม่ปล่อยให้ประสบการณ์เสียเปล่า ในเมื่อมีเสื้อผ้าเรดี้ทูแวร์ที่ใส่ได้ประจำวันแล้ว ก็ต้องมีผลงานเสื้อผ้าชั้นสูง ซึ่งถือเป็นงานถนัดของเขาด้วย ด้วยเหตุนี้ Raf Simons จึงจัดการเปิดตัวบริการใหม่ล่าสุดที่ไม่เคยมีมาก่อนในแฟชั่นเฮาส์แห่งนี้ นั่นคือบริการสั่งตัดพิเศษแบบส่วนตัว โดยใช้ชื่อว่า Calvin Klein by Appointment ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ขั้นตอนพูดคุยตอนเซ็ปต์ วัดตัว ออกแบบ ไปจนถึงการตัดเย็บ ในทุกขั้นตอนคุณจะมี Raf Simons คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ผลลัพธ์คือแบรนด์นี้กลายเป็นที่พึงปราถนาแห่งใหม่ของเซเลบริตี้และคนดังทั่วโลก อย่างชุดเดรสผ้าทูลล์สีขาวซ้อนผ้ากว่า 70 ชั้นที่ Nicole Kidman ใส่อวดโฉมบนพรมแดงเมืองคานส์ครั้งล่าสุด จนได้ฉายา Belle of The Ball จากสื่อทุกสำนักก็เป็นผลงานของ Calvin Klein by Appointment เช่นกัน
นี่คือยุคที่น่าจดจำของ Calvin Klein
หลังจากย้ายมา Calvin Klein ได้ไม่ถึงปี ผลงานของเขาก็นำพาให้ Raf Simons ได้ก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในเจ็ดดีไซเนอร์ของ CFDA ที่คนต้องพูดถึงไปตลอดกาล ไม่นับเม็ดเงินที่หลั่งไหลเข้ามา 8,400 ล้านเหรียญในปี 2016 หรือเกือบ 3 แสนล้านบาท ทำให้ Calvin Klein ก้าวขึ้นเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในเครือ PVH ในขณะที่เจ้าของแบรนด์หรือดีไซเนอร์หลายคนกำลังพยายามทุกวิถีทางเพื่อทำแบรนด์ของตนก้าวขึ้นเป็นแบรนด์ไฮเอนด์ที่จับต้องได้ยาก ขณะเดียวกัน Raf Simons กลับพยายามดึง Calvin Klein จากฟ้าลงมาสู่พื้นโลกเพื่อให้ปุถุชนคนธรรมดาได้สัมผัส โดยไม่ได้ละทิ้งความหรูหราที่โลกแฟชั่นต้องการอยู่เสมอ การได้รับรางวัล CFDA ถึง 2 สาขารวดในปีนี้จึงเปรียบเหมือนการเดินตามรอยเท้าผู้ก่อตั้งแบรนด์ Calvin Klein ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเหมาะสมของเขาในฐานะผู้นำคนใหม่ของแบรนด์อเมริกันหลังนี้ แม้ว่าทิศทางของเขาในวันนี้กับทิศทางของผู้ก่อตั้งในวันนั้นจะไปในทางตรงกันข้าม แต่ทั้งคู่ได้พาแบรนด์มาสู่จุดหมายเดียวกัน การันตีด้วยรางวัล CFDA ที่ทั้งคู่กวาดมาครองได้แบบเดียวกันเป๊ะ!
ความพิเศษของรางวัล CFDA ที่ Raf Simons ได้ในปีนี้
ในประวัติศาสตร์ของ CFDA มีดีไซเนอร์เพียง 6 คนเท่านั้นที่สามารถคว้ารางวัลใหญ่ไปครองถึง 2 สาขา นั่นคือสาขาเสื้อผ้าผู้หญิงและเสื้อผ้าผู้ชาย เมื่อปี 1990 Donna Karan คือดีไซเนอร์คนแรกที่หอบรางวัลใหญ่ครั้งแรกกลับบ้านไปก่อนและคว้ารางวัลที่สองตามมาในอีก 2 ปีให้หลัง แถมยังซ้ำรางวัลใหญ่อีกครั้งในสาขาเสื้อผ้าผู้หญิงปี 1996 ตามมาติดๆ ด้วย Ralph Lauren ที่กวาดไปถึง 3 รางวัลในปี 1995, 1996 และ 2007 ส่วน Michael Kors เองก็เคยรวบสองรางวัลมาแล้วเมื่อปี 1999 ในสาขาเสื้อผ้าผู้หญิง และปี 2003 ในสาขาเสื้อผ้าผู้ชาย นอกจากนี้ยังมี Marc Jacobs ที่เคยได้ไปถึง 3 รางวัล ตามมาด้วย Tom Ford เจ้าของรางวัล CFDA ถึง 2 ครั้ง ล่าสุดมาถึง Raf Simons ซึ่งเป็นดีไซเนอร์คนที่ 7 แห่งประวัติศาสตร์ที่คว้ารางวัล CFDA ไปครอง 2 สาขารวดนับตั้งแต่ย้ายมาอยู่ใต้ชายคา Calvin Klein ตามรอยผู้ก่อตั้งแบรนด์ที่เคยควบรางวัลกลับบ้านสองสาขารวดเช่นกันเมื่อปี 1993 และได้รางวัลใหญ่ไปประดับบ้านเพิ่มอีกหนึ่งตอนปี 1999 นั่นหมายความว่าชื่อของ Raf Simons ได้ถูกจดลงในลิสต์ 1 ใน 7 ดีไซเนอร์ที่สามารถควบรางวัลใหญ่ถึงสองสาขา จากดีไซเนอร์หลายร้อยคนที่เคยได้รางวัล CFDA นับแต่ปี 1980 เป็นต้นมา
การย้ายจาก Dior มาที่ Calvin Klein คือการตัดสินใจที่ถูกหรือไม่
“หลายอย่างผมทำไม่ได้ที่ Dior แต่ที่ Calvin Klein ผมทำได้” Raf Simons เคยให้สัมภาษณ์กับ Amuse ถึงเหตุผลที่เขาตัดสินใจทิ้งเก้าอี้ creative director ในแฟชั่นเฮาส์ที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับต้นๆ อย่าง Dior มานั่งแท่น chief creative officer ที่ Calvin Klein ดูแลทั้งเสื้อผ้าผู้ชายและผู้หญิง “ทุกคนย่อมอยากทำงานอะไรก็ตามที่เชื่อมโยงกับตัวเองได้ บอกตรงๆ เลยว่าเหตุผลที่ผมเลือกมาดูแล Calvin Klein เป็นเพราะที่นี่มีความหลากหลาย มีทั้งแฟชั่นระดับสูง ระดับกลาง ไปจนถึงติดดินกว่านั้นก็มี นั่นแปลว่าผมจะสามารถเข้าถึงคนทุกคนในโลกนี้ได้ สิ่งที่ผมทำที่นี่ มันไม่สามารถไปทำกับ Dior ได้” ดังนั้นถ้าเป้าหมายของดีไซเนอร์คนนี้คือการเข้าถึงโลกแฟชั่นให้ได้ทุกซอกทุกมุมแล้วล่ะก็ Calvin Klein คือตัวเลือกที่เอื้อให้เขาเดินตามอุดมการณ์ได้อย่างเปิดกว้างที่สุด
Calvin Klein ในยุคของ Raf Simons เป็นอย่างไร?
ย้อนกลับไปช่วงปี 1980s และ 1990s สมัยนั้น Calvin Klein นำเสนอโฆษณาชุดชั้นในที่มีหญิงสาวมาดเซ็กซี่และหุ่นสุดเพอร์เฟ็กต์อย่าง Brooke Shields และ Kate Moss เป็นนางแบบ และเพื่อเป็นการพิสูจน์อุดมการณ์ที่เขาเคยประกาศไว้ ทันที่ที่เข้าสู่ยุคใหม่ Raf Simons จัดการปล่อยแคมเปญชุดชั้นในล้างภาพจำแบบเก่าๆ ที่แบรนด์เคยสร้างไว้ในทันที เขากลับเข็มทิศและพาแบรนด์ก้าวไปสู่ทิศทางที่ผู้คนจะเข้าถึงชุดชั้นในของ Calvin Klein ได้มากขึ้นด้วยการเชิญ Lauren Hutton นักแสดงและนางแบบชื่อดังวัย 73 ปี มาเป็นนางเอกของแคมเปญนี้ในชุดชั้นในดีไซน์เรียบๆ และเสื้อเชิ้ตสีขาวสุดคลาสสิก และเชิญ Sofia Coppola ผู้กำกับหญิงเจ้าของรางวัลออสการ์มาลั่นชัตเตอร์ โดยไม่จำกัดว่าคุณจะต้องเป็นผู้หญิงที่เพอร์เฟ็กต์เท่านั้น ชุดชั้นใน Calvin Klein ถึงจะคู่ควรกับคุณเหมือนที่หลายคนเคยรู้สึก เห็นได้ชัดว่าเป้าหมายหลักของเขาคือการนำ Calvin Klein ไปสู่ทุกตลาดบนโลกแฟชั่นอย่างไร้เส้นแบ่ง
เหตุผลที่ต้องมี Calvin Klein by Appointment
ได้ชื่อว่าอดีตผู้สร้างสรรค์งานกูตูร์แห่ง Dior คงไม่ปล่อยให้ประสบการณ์เสียเปล่า ในเมื่อมีเสื้อผ้าเรดี้ทูแวร์ที่ใส่ได้ประจำวันแล้ว ก็ต้องมีผลงานเสื้อผ้าชั้นสูง ซึ่งถือเป็นงานถนัดของเขาด้วย ด้วยเหตุนี้ Raf Simons จึงจัดการเปิดตัวบริการใหม่ล่าสุดที่ไม่เคยมีมาก่อนในแฟชั่นเฮาส์แห่งนี้ นั่นคือบริการสั่งตัดพิเศษแบบส่วนตัว โดยใช้ชื่อว่า Calvin Klein by Appointment ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ขั้นตอนพูดคุยตอนเซ็ปต์ วัดตัว ออกแบบ ไปจนถึงการตัดเย็บ ในทุกขั้นตอนคุณจะมี Raf Simons คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ผลลัพธ์คือแบรนด์นี้กลายเป็นที่พึงปราถนาแห่งใหม่ของเซเลบริตี้และคนดังทั่วโลก อย่างชุดเดรสผ้าทูลล์สีขาวซ้อนผ้ากว่า 70 ชั้นที่ Nicole Kidman ใส่อวดโฉมบนพรมแดงเมืองคานส์ครั้งล่าสุด จนได้ฉายา Belle of The Ball จากสื่อทุกสำนักก็เป็นผลงานของ Calvin Klein by Appointment เช่นกัน
นี่คือยุคที่น่าจดจำของ Calvin Klein
หลังจากย้ายมา Calvin Klein ได้ไม่ถึงปี ผลงานของเขาก็นำพาให้ Raf Simons ได้ก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในเจ็ดดีไซเนอร์ของ CFDA ที่คนต้องพูดถึงไปตลอดกาล ไม่นับเม็ดเงินที่หลั่งไหลเข้ามา 8,400 ล้านเหรียญในปี 2016 หรือเกือบ 3 แสนล้านบาท ทำให้ Calvin Klein ก้าวขึ้นเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในเครือ PVH ในขณะที่เจ้าของแบรนด์หรือดีไซเนอร์หลายคนกำลังพยายามทุกวิถีทางเพื่อทำแบรนด์ของตนก้าวขึ้นเป็นแบรนด์ไฮเอนด์ที่จับต้องได้ยาก ขณะเดียวกัน Raf Simons กลับพยายามดึง Calvin Klein จากฟ้าลงมาสู่พื้นโลกเพื่อให้ปุถุชนคนธรรมดาได้สัมผัส โดยไม่ได้ละทิ้งความหรูหราที่โลกแฟชั่นต้องการอยู่เสมอ การได้รับรางวัล CFDA ถึง 2 สาขารวดในปีนี้จึงเปรียบเหมือนการเดินตามรอยเท้าผู้ก่อตั้งแบรนด์ Calvin Klein ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเหมาะสมของเขาในฐานะผู้นำคนใหม่ของแบรนด์อเมริกันหลังนี้ แม้ว่าทิศทางของเขาในวันนี้กับทิศทางของผู้ก่อตั้งในวันนั้นจะไปในทางตรงกันข้าม แต่ทั้งคู่ได้พาแบรนด์มาสู่จุดหมายเดียวกัน การันตีด้วยรางวัล CFDA ที่ทั้งคู่กวาดมาครองได้แบบเดียวกันเป๊ะ!
WATCH