พิพิธภัณฑ์กรุงปารีสจัดนิทรรศการล่าสุดเกี่ยวกับ Gabrielle Chanel ผู้ปลี่ยนแฟชั่นของสตรีทั่วโลก!
ความยิ่งใหญ่ของงานในครั้งนี้คือเป็นผลงานแฟชั่นระดับเมเจอร์ครั้งแรกของโลกหลังพิพิธภัณฑ์หลายแห่งต้องปิดทำการนานหลายเดือน...
COCO DURING CHANEL
พิพิธภัณฑ์แฟชั่นใหญ่แห่งกรุงปารีสเปิดประตูต้อนรับคอศิลปะอีกครั้งด้วยนิทรรศการใหม่ลำดับล่าสุดเกี่ยวกับ Gabrielle Chanel ราชินีผู้พลิกโฉมการแต่งกายของสตรีทั้งโลก
ไม่ว่าจะเปลี่ยนดีไซเนอร์ไปกี่คน คอลเล็กชั่นใหม่มีอะไรคล้ายของเก่ามากหรือน้อย ทิศทางของแบรนด์ต่างจากจุดเริ่มต้นของห้องเสื้อดั้งเดิมไปมากแค่ไหน สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยน (และจะไม่มีวันเปลี่ยน!) คือประวัติศาสตร์ของแบรนด์ ซึ่งผูกโยงกับผู้ก่อตั้งในวันเริ่มต้น
(ซ้าย) มาดมัวแซลนักออกแบบ Gabrielle Chanel กับนางแบบสาว Suzy Parker สวมสูทกระโปรงตัวโก้จากปี 1959 และ(ขวา) ชุดราตรีจากปี 1964-1965 ที่แลดูเรียบง่ายมาพร้อมเทคนิคงานตัดเย็บตระการตา
ในโอกาสครบรอบ 1 ปีที่ Chanel ของนักออกแบบหญิง Virginie Viard หลังการจากไปของ Karl Lagerfeld ผู้ครองบัลลังก์อยู่นาน 36 ปี พิพิธภัณฑ์ Palais Galliera ประจำกรุงปารีสจึงจัดนิทรรศการ Gabrielle Chanel: Fashion Manifesto เพื่อสดุดีหญิงแกร่งรุ่นบุกเบิกผู้เปรียบเสมือนเสาหลักของวงการแฟชั่นมาช้านาน
(ซ้าย) สไตล์ซิกแฝงกลิ่นอายสปอร์ตจากปี 1926 และ(ขวา) บันได้วนตกแต่งกระจกเงาในอาคารระดับตำนาน เลขที่ 31 ถนนกัมบง กรุงปารีส
นอกจากพื้นที่เกือบ 1,500 ตารางเมตรซึ่งรวมไปถึงแกลเลอรีเปิดใหม่ตรงชั้นใต้ดินแล้ว อีกหนึ่งความยิ่งใหญ่ของงานในครั้งนี้คือเป็นผลงานแฟชั่นระดับเมเจอร์ครั้งแรกของโลกหลังพิพิธภัณฑ์หลายแห่งต้องปิดทำการนานหลายเดือนเนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นนิทรรศการ Retrospective หรืองานย้อนอดีตของมาดมัวแซลเต็มรูปแบบครั้งแรกในปารีส โดยปักหมุดเกาะติดชีวิตนายหญิงแห่งแวดวงสไตล์ที่ปีเกิด 1883 จนถึงเสียชีวิตอย่างสงบในปี 1971 ณ The Ritz Paris
WATCH
1 / 10
2 / 10
3 / 10
4 / 10
5 / 10
6 / 10
7 / 10
8 / 10
9 / 10
10 / 10
ส่วนหนึ่งของชื่อนิทรรศการที่แปลว่า “แถลงการณ์ทางแฟชั่น” มีนัยของการปฏิวัติซ่อนอยู่ ทั้งยังสะท้อนรูปแบบชีวิตและงานออกแบบของเธอได้อย่างแจ่มชัด ผู้ชมจึงมีโอกาสสัมผัสชิ้นงานเก่าในยุคต่อกรกับ Paul Poiret ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จนถึงทศวรรษเฟื่องฟูที่เธอตั้งใจกลับมายึดหัวหาดแฟชั่นอีกครั้งในวัย 71 ปี เพราะทนไม่ได้กับสไตล์ New Look ฟู่ฟ่า ใช้ผ้าเยอะ เนื่องจากไปลิดรอนอิสรภาพช่วงเอวของสตรียุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในขณะนั้น ส่วนครึ่งหลังของนิทรรศการนำเสนอ “ชิ้นรหัส” ต่างๆ ของห้องเสื้อซึ่งต่อมากลายเป็นสัญลักษณ์ของความเก๋ระดับตำนาน เช่น สูทกระโปรงผ้าทวีด กระเป๋าสะพายรุ่น 2.55 กับรองเท้าพัมป์ทูโทน
ภาพ : Courtesy of the brand, Julien T. Hamon
WATCH