FASHION

Thai Tone Shop ป๊อปอัพสโตร์ผ้าไทยที่เปิดโลกให้มรดกวัฒนธรรมได้โลดแล่นตามยุคสมัย

ความพิเศษของ Thai Tone Shop ไม่ใช่แค่งานแสดงสินค้า แต่เป็นเหมือนนิทรรศการที่พาเราไปสัมผัสกับมิติของผ้าไทยมากยิ่งขึ้น

     Thai Tone Shop โปรเจกต์พิเศษของโว้กประเทศไทยที่มุ่งเน้นการยกระดับผ้าไทยสู่เวทีสากล จัดขึ้นระหว่างช่วงระหว่างวันที่ 16 – 31 ธันวาคม 2564 โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้สัมผัสถึงวิถีการรังสรรค์ผ้าไทยรูปแบบใหม่ผ่านมุมมองของดีไซเนอร์ผู้มีประสบการณ์ในวงการแฟชั่นมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ Asava, Kloset, Iconic, T and T และแบรนด์ในสังกัด Vogue Who’s On Next หลายต่อหลายปี ซึ่งรูปแบบการจัดงานนี้ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสนับสนุนไม่ใช่แค่กับผู้ผลิตผลงาน แต่ยังสนับสนุนตลาดผ้าไทยในมุมมองของผู้บริโภคที่จะได้สัมผัสกับความหลากหลายมากขึ้น

บรรยากาศของป๊อปอัพ Thai Tone Shop

     ภายในงานโดดเด่นด้วยการจัดวางไอเท็มผ้าไทยจากทั้งฝีมือดีไซเนอร์ไทยและฝั่งที่ Thai Tone Shop รังสรรค์ขึ้นเอง รูปแบบของพื้นที่เอื้อให้คนสามารถเดินชมได้อิสระ ให้ความรู้สึกเหมือนชมนิทรรศการขนาดย่อม สามารถช็อปปิ้งไอเท็มที่ชื่นชอบได้ด้วย มากไปกว่านั้นยังสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผ้าไทยนั้นมีความหลากหลายมากกว่าที่หลายคนคิด แม้ก่อนหน้านี้บางคนอาจเคยเห็นไอเท็มผ้าไทยชิ้นเด่นถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบมาบ้าง แต่สำหรับงานนี้ไอเท็มทุกรูปแบบถูกจัดเรียงไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ดังนั้น Thai Tone Shop จึงเป็นเหมือนพื้นที่สำหรับการเปิดมุมมองให้ทุกคนได้สัมผัสกับคำว่า “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

จากซ้ายไปขวา: ศรัณญ อยู่คงดี ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ Sarran, ทรงวุฒิ ทองทั่ว ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ Renim Project, ณัฏฐ์ มั่งคั่ง ดีไซเนอร์แบรนด์ Kloset, กุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหารโว้กประเทศไทย, พลพัฒน์ อัศวะประภา ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้ง Asava, อัครวุฒิฎ์ พันธุมวานิช ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ Iconic, และ สุพัจนา ลิ่มวงศ์ ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ La Orr

     กุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิิการบริหารโว้กประเทศก็ได้กล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการพร้อมกับเชิญตัวแทนดีไซเนอร์ทั้ง หมู-พลพัฒน์ อัศวะประภา และ เล็ก-ณัฏฐ์ มั่งคั่ง มากล่าวเกี่ยวกับประเด็นการรังสรรค์ผ้าไทยในรูปแบบสมัยใหม่ ที่ไม่ใช่แค่การนำผ้าไทยมาผลิตเสื้อผ้าเท่านั้น แต่ยังพูดถึงการเพิ่มรายละเอียดให้เหมาะสม การเลือกใช้ผ้า การใช้สี รวมถึงการมิกซ์แอนด์แมตช์ให้เกิดลุคใหม่ๆ ที่น่าสนใจ แบรนด์อย่าง Sarran และ La Orr เองก็มีบทบาทที่นำมาผ้าไทยมาผสมผสานกับศาสตร์การสร้างสรรค์ชิ้นงานเครื่องประดับจนเกิดเป็นไอเท็มชิ้นใหม่ที่น่าสนใจ



WATCH




บรรยากาศการเปิดป๊อปอัพ Thai Tone Shop วันแรก ณ โซนไอคอนคราฟต์ ชั้น 4 ไอคอนสยาม

     สุดท้ายแล้วงานนี้ไม่ใช่งานที่จัดขึ้นเพื่อสร้างความตื่นตัวชั่วขณะ แต่เป็นงานที่สามารถกรุยทางเส้นใหม่ให้ผ้าไทยและผู้เกี่ยวข้องกับงานหัตถยกรรมและงานออกแบบได้มีช่องทางในการก้าวเดินสู่โลกยุคใหม่อันทันสมัยและพร้อมสำหรับเวทีสากลมากขึ้น ชิ้นงานต่างๆ ล้วนเป็นต้นแบบของการออกแบบชิ้นงานทั้งเชิงแฟชั่นและเครื่องใช้ภายในบ้านจากผ้าไทยได้เป็นอย่างดี ความพิเศษไม่ได้หมายถึงการนำเสนอให้ทุกคนได้เห็นความหลากหลายเพียงเท่านั้น แต่ยังหมายถึงวิธีการสร้างรากฐานความคิดให้คนไทยด้วยกันเองให้คุณค่ากับผ้าไทยอย่างเหมาะสม มรดกทางวัฒนธรรมที่กำลังจะวิวัฒนาการไปตามยุคสมัย อย่างเช่นที่ Thai Tone Shop กำลังมุ่งเน้นตอนนี้คือการพัฒนาให้ของใกล้ตัวที่อาจสูญหายไปหากไม่รักษาไว้อย่างดีกลายเป็นมรดกล้ำค่าที่อยู่ร่วมสมัยได้อย่างมั่นคง

กุลวิทย์ เลาสุขศรี ขณะชมรายละเอียดงานเสื่อกก ไอเท็มเด่นอีกชิ้นหนึ่งใน Thai Tone Shop

ตัวอย่างบราท็อปผ้าไทยสีสันสดใสจากแบรนด์ Kloset

ผลงานเครื่องประดับจากแบรนด์ La Orr

เสื่อกกม้วนใน Thai Tone Shop

ผลงานการออกแบบผ้าไทยรูปแบบใหม่จาก T and T และ Asava

บรรยกาศภายใน Thai Tone Shop

บรรยกาศภายใน Thai Tone Shop

บรรยกาศภายใน Thai Tone Shop

บรรยกากาศการพูดคุยบนเวทีของ กุลวิทย์ เลาสุขศรี, ณัฏฐ์ มั่งคั่ง และ พลพัฒน์ อัศวะประภา เกี่ยวกับประเด็นผ้าไทยในยุคสมัยใหม่ที่ออกแบบให้ Thai Tone Shop

อัครวุฒิฎ์ พันธุมวานิช กับผลงานออกแบบชิ้นพิเศษจากแบรนด์ Iconic

ศรัณญ อยู่คงดี ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ Sarran ใน Thai Tone Shop

โลโก้ Thai Tone Shop

WATCH