แฟชั่นที่สร้างจากหนังผี…แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์สยองขวัญสู่แฟชั่นขนหัวลุก
แฟชั่นกับภาพยนตร์เป็นสิ่งที่เลียนล้อกันได้เสมอ แม้จะเป็นภาพยนตร์แนวสยองขวัญที่สร้างความหวาดผวาก็ตาม
เรื่อง: Ellen Burney
ภาพยนตร์สยองขวัญทำหน้าที่กระตุกต่อมแรงบันดาลใจของเหล่าดีไซเนอร์ผู้หลงใหลในมนต์เสน่ห์ของความมืดมนมาเป็นเวลาช้านาน การมาเยือนของวันฮาโลวีนขยับใกล้เข้ามาเต็มที และภาพยนตร์ต้นตำรับแห่งความสยองขวัญอย่าง Suspiria ของผู้กำกับ ดาริโอ อาร์เจนโต ที่ออกฉายเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1977 ได้รับการรีเมกและกลับมาสร้างความสะพรึงได้ไม่แพ้ต้นฉบับเลยทีเดียว โว้ก ขุดแฟชั่นแห่งความสยดสยองขึ้นมาเปิดเปลือยกันอีกครั้งหนึ่ง
ตั้งแต่ Alessandro Michele ที่ Gucci ไปจนถึง Alexander McQueen แบรนด์แฟชั่นระดับตำนานเหล่านี้มักหยิบจับภาพยนตร์ในอดีตมาเป็นไอเดียเพื่อปลุกความมืดมนให้ตื่นขึ้นมาโลดแล่นบนรันเวย์ ด้วยการอ้างอิงจาก Rebecca (1940) ไปจนถึง Rosemary’s Baby (1968) หยิบยืมจากห้องสมุดของนักเขียนระดับตำนานผู้สรรสร้างเรื่องราวสุดสะพรึง แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง The Shining ทำให้เด็กหญิงฝาแฝดได้ปรากฏกายบนรันเวย์ของ Undercover ในตอนท้ายสุดของโชว์ (ภาพบน) นางเอกจากภาพยนตร์เลื่องชื่อของฮิตช์ค็อก เคยกรีดกรายอยู่บนรันเวย์หลุยส์ วิตตอง เสมือนหลุดออกมาจากฉากเดินเตร่ในโรงแรม และทั้งคอลเล็กชั่น spring/summer 1995 ของแม็กควีนนั้นอุทิศให้กับ Tippi Hedren นางเอกภาพยนตร์สยองขวัญของ Alfred Hitchcock อย่าง The Birds (1963)
สำหรับคอลเล็กชั่น Spring/Summer 2019 ของกุชชี่ มีการฉายฟิล์มก่อนเปิดโชว์ ซึ่งมีส่วนผสมของความ “ประสาทหลอน, ป่าเถื่อน, และพล็อตเรื่องที่ดูกระจัดกระจาย” โดย Leo de Berardinis และ Perla Peragallo ผู้กำกับละครชาวอิตาลีผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในช่วงปี 1960s จากการสร้างสรรค์ละครสไตล์อวองต์-การ์ด โดยพวกเขาได้รับอิทธิพลมาจาก A Clockwork Orange ภาพยนตร์สั่นประสาทที่ได้รับการฉายครั้งแรกเมื่อปี 1971 โดยโชว์ที่จัดขึ้นในลอนดอนของ Richard Quinn เป็นอีกหนึ่งโชว์ที่ได้รับการเปิดตัวอย่างอลังการด้วยสายฟ้าและพายุ และที่อดพูดถึงไม่ได้ คงจะเป็นโชว์จาก Rodarte ที่ลวงตาผู้ชมด้วยสีสันและลวดลายที่หลากหลายของเนื้อผ้า (ภาพบน) เสมือนปลุกเหล่าเจ้าสาวตามแบบฉบับของทิม เบอร์ตันให้ตื่นจากห้วงนิทรา ณ สุสานใจกลางอีสต์วิลเลจ “นี่คือสิ่งที่เราโหยหา: บรรยากาศแบบนี้เลย!” Kate Mulleavy หนึ่งในดีไซเนอร์จาก Rodarte กล่าวกับโว้ก
WATCH
เริ่มต้นด้วยดนตรีเขย่าขวัญ และตามมาด้วยคอลเล็กชั่นของ Calvin Klein ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์เรื่อง Jaws (ภาพบน) Raf Simons ครีเอทีฟไดเรกเตอร์ของแบรนด์สามารถตรึงผู้ชมได้อยู่หมัด เขาสร้างบรรยากาศอกสั่นขวัญแขวนด้วยการเปิดซาวด์แทร็กจากภาพยนตร์เวอร์ชั่นปี 1975 และปูพรมสีแดงฉานบนรันเวย์
ซิมงส์กลับมาสร้างความระทึกใจอีกครั้งในโชว์ Spring/Summer 2018 (ภาพบน) เสมือนเป็นการคละเคล้าภาพยนตร์สยองขวัญชื่อดังเข้าด้วยกัน ทั้ง Carrie, The Shining และ Rosemary's Baby “อเมริกันฮอร์เรอร์ อเมริกันดรีม” คือคำกล่าวของเขาที่มีต่อคอลเล็กชั่นนี้
สร้างความตื่นตาตื่นใจได้ไม่หยุดหย่อน เมื่อกุชชี่ นำโดยครีเอทีฟไดเรกเตอร์มากฝีมืออย่าง อเลสซานโดร มิเคเล่ นำโชว์ Resort 2019 มาไว้ในสุสานทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส โดยผู้ชมรวมตัวกันเสมือนมาร่วมงานศพ สร้างบรรยากาศด้วยการปล่อยควันและจุดไฟไปทั่วทั้งรันเวย์ สำหรับ Autumn/Winter 2018 (ภาพบน) เหล่านางแบบเดินถือศีรษะจำลองของตนเอง ที่ดูอย่างไรก็ลอกเลียนมาเหมือนจริงไม่ผิดเพี้ยน และสำหรับ Pre-Fall 2018/2019 ทางแบรนด์ได้ตีพิมพ์หนังสือที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์สยองขวัญอย่าง Inferno (1980) โดยผู้กำกับ ดาริโอ อาร์เจนโต รวบรวมภาพถ่ายของเหล่านางแบบและนายแบบตามสถานที่ถ่ายทำจากภาพยนตร์
หลากหลายคอลเลกชั่นร่วมสมัยได้รับการถ่ายทอดในรูปแบบวิดีโอสไตล์วินเทจ Nicolas Ghesquière ครีเอทีฟไดเรกเตอร์จากหลุยส์ วิตตอง แชร์ภาพจาก Suspiria (1977) ภาพยนตร์สุดสะพรึงชื่อดังอีกเรื่องหนึ่งของอาร์เจนโต (ภาพบน) – รีเมกขึ้นมาใหม่โดยผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี Luca Guadagnino และได้รับการเผยแพร่ก่อนจะถึงโชว์ Spring/Summer 2015 ของเขา ส่วนฟากแบรนด์ Altuzarra ก็อ้างอิงภาพยนตร์เรื่องนี้ในซีซั่นเดียวกัน และสำหรับ Autumn/Winter 2015 ภาพนิ่งบางส่วนจากภาพยนตร์เรื่องนี้ได้กลายมาเป็นลายพิมพ์ในคอลเล็กชั่นของ Thomas Tait
ทว่าไม่มีใครสร้างความผันผวนได้เท่าแม็กควีน กับการออกแบบการแสดงในรูปแบบที่สร้างความหวาดผวาให้กับผู้ชม โชว์อันน่าขนลุกนี้มีทั้งความซาดิสท์และการทรมาน (It’s A Jungle Out There, 1997) ไปจนถึงศัลยแพทย์โรคจิตในโรงเรียนแพทย์ที่ Eclect Dissect สำหรับคอลเล็กชั่นโอตกูตูร์ของ Givenchy ในปี 1997 ส่วนโชว์ Autumn/Winter 1999 ของเขา จัดแสดงภายในกล่องสี่เหลี่ยมที่เต็มไปด้วยหิมะ เพื่อเป็นการระลึกถึงฉากสำคัญจากภาพยนตร์เรื่อง The Shining และในโชว์ Autumn/Winter 2005 (ภาพบน) ภาพยนตร์ของฮิตช์ค็อกได้รับการสรรเสริญไปพร้อมกับมิวส์คนสำคัญอย่างทิปปี้ เฮเดรน โดยภาพยนตร์เรื่อง The Man Who Knew Too Much (1956) และ Vertigo (1958) ยังเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์โชว์ในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
นอกจากแม็กควีนแล้ว Erdem เป็นอีกหนึ่งแฟนตัวยงผู้คลั่งไคล้ภาพยนตร์ของฮิตช์ค็อก เห็นได้ชัดเจนในคอลเล็กชั่น Autumn/Winter 2016 (ภาพบน) ที่มีส่วนผสมจากภาพยนตร์เรื่อง Rebecca (1940) ปะปนอยู่ในโชว์ และ Marios Schwab ที่อ้างอิงชุดสูทสีเทาอันโด่งดัง สวมใส่โดย Kim Novak ในภาพยนตร์เรื่อง Vertigo สำหรับคอลเล็กชั่น Autumn/Winter 2012 หนึ่งปีหลังจากที่เขากำกับภาพยนตร์เรื่อง Phenomena (1985) (เสื้อผ้าของเหล่านักแสดงได้รับการดีไซน์โดย Giorgio Armani) ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังอย่างอาร์เจนโต ได้รับคำเชื้อเชิญจาก Trussardi ในการกำกับโชว์บนรันเวย์ของทางแบรนด์ เรื่องราวของโชว์ที่ว่านี้มีตั้งแต่การสร้างฉากสังหารแบบเฟคๆ และการห่อหุ้มร่างเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายบนแผ่นพลาสติก สรุปได้ว่า มันคือโชว์ที่เต็มไปด้วยความสะเทือนขวัญสั่นประสาทดีๆ นี่เอง
ข้อมูล: vogue.com.au
แปล: ชนิสรา กตัญญูทวีทิพย์
WATCH