บุหรี่, บุหรี่แฟชั่น, cigarette, cigarette case, le smoking, le smoking jacket, yves saint laurent le smoking, cigarette fashion, fashion smoking, fashion, แฟชั่น
FASHION

ไขรหัสลับทำไมแฟชั่นยุคก่อนต้องมี ‘บุหรี่’ ความเท่ที่ตกยุคแต่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์

ช่วงเวลาหนึ่งแคมเปญแฟชั่นกับบุหรี่เป็นของคู่กัน เพราะความขบถจัดจ้านทำให้บุหรี่สะท้อนถึงคนในแวดวงนี้ได้ดีที่สุด

ภาพ: Helmut Newton/Vogue France/Sotheby's

     คำกล่าวที่ว่า “สูบบุหรี่เพราะเท่” เคยเป็นความจริงอย่างปฏิเสธไม่ได้ ในปัจจุบันแม้แทบทุกพื้นที่ทั่วโลกจะแบนการสูบบุหรี่ในหน้าโฆษณา ซึ่งเชื่อมโยงถึงโลกแฟชั่นที่ลดระดับความเข้มข้นจนแทบไม่เหลือให้เห็นกันอีกแล้ว มีเพียงสื่อนอกกระแสและมุ่งเน้นความขบถเท่านั้นที่ยังใช้สิ่งนี้เพื่อสร้างภาพอันสวยงามท่ามกลางมลพิษจากการสูดดมอยู่ เรื่องนี้ต้องบอกว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เพราะบุหรี่เป็นสิ่งถูกกฎหมายแต่โดนตั้งข้อห้ามอย่างเคร่งครัด อีกทั้งสังคมยังปิดกั้นสิ่งนี้ด้วย แต่ทำไมครั้งหนึ่งโลกแฟชั่นยุคก่อนจึงเต็มไปด้วยบุหรี่ หาคำตอบได้ในบทความนี้

บุหรี่, บุหรี่แฟชั่น, cigarette, cigarette case, le smoking, le smoking jacket, yves saint laurent le smoking, cigarette fashion, fashion smoking, fashion, แฟชั่น

การสูบบุหรี่ของผู้หญิงในยุค Flapper ที่เป็นช่วงแรกในการเติบโตของบุหรี่ในแวดวงแฟชั่น / ภาพ: Smithsonian Magazine

     นักประวัติศาสตร์แฟชั่นหลายคนเคยพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่าทุกคนทราบกันอย่างดีว่าบุหรี่เป็นโทษต่อร่างกาย ในขณะที่มันยังถูกกฎหมาย นั่นแปลว่าผู้คนมีทางเลือกจะสูบหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อแฟชั่นหมายถึงความขบถและแตกต่าง อ้างอิงจากนิยามตามบริบทแฟชั่นของคนยุคก่อน อีกทั้งยังมีเรื่องความสนุก สีสัน และงานปาร์ตี้ที่ผูกโยงกับแฟชั่นอยู่เสมอ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ก็มีบุหรี่เป็นส่วนหนึ่งในสังคมกลุ่มย่อยเช่นกัน ย้อนกลับไปยุค ‘20s ยุคแห่งการเต้นรำ บุหรี่เป็นสิ่งสำคัญที่ใครก็ขาดไม่ได้ และนั่นก็หมายถึงการโปรโมตไลฟ์สไตล์ผ่านภาพด้วยสิ่งที่คนเข้าอกเข้าใจกัน การสูบบุหรี่เองก็เป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้

บุหรี่, บุหรี่แฟชั่น, cigarette, cigarette case, le smoking, le smoking jacket, yves saint laurent le smoking, cigarette fashion, fashion smoking, fashion, แฟชั่น

ภาพถ่ายแฟชั่น Le Smoking ที่ Helmut Newton ลั่นชัตเตอร์บันทึกความโก้ในยุคนั้นของนางแบบที่มือคีบบุหรี่ / ภาพ: Helmut Newton

     ความขบถอันผูกโยงกับเพศ หลายคนคงทราบกันดีว่าสัดส่วนการสูบบุหรี่ของผู้หญิงและผู้ชายต่างกันมาก โดยที่สิงห์อมควันชายมีจำนวนมากกว่าอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นแฟชั่นที่ยึดโยงกับความขบถและสร้างรากฐานพลังหญิงจึงมีสิ่งนี้เข้ามาเกี่ยวข้อง สมัยก่อนผู้หญิงสูบบุหรี่อาจไม่ใช่เรื่องแปลกนัก แต่การสร้างมาตรฐานใหม่ด้วยการสูบบุหรี่ นอกจากสร้างความสุขแล้วมันยังสร้างพลังที่แสดงให้เห็นว่าพวกเธอก็ก๋ากั่นตามสมัยนิยมได้ไม่แพ้กัน เมื่อผูกโยงเข้ากับโลกแฟชั่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ Le Smoking Jacket ฝีมือการออกแบบของ Yves Saint Laurent ที่เปิดโลกการสวมสูทของผู้หญิงอันโฉบเฉี่ยว แน่นอนภาพแคมเปญของลุคนี้นางแบบจะต้องถือบุหรี่ตามชื่อของแจ๊กเก็ตอย่างไม่ต้องสงสัย



WATCH




บุหรี่, บุหรี่แฟชั่น, cigarette, cigarette case, le smoking, le smoking jacket, yves saint laurent le smoking, cigarette fashion, fashion smoking, fashion, แฟชั่น

บุหรี่ยี่ห้อ Sobranie ที่ออกแบบเวอร์ชั่นสีรุ้งมาเพื่อตอบโจทย์ความมีสไตล์ / ภาพ: Grabr

     จุดกำเนิดของบุหรี่แฟชั่นก็เกิดจากรากฐานความเก๋มีสไตล์ในการสูบบุหรี่ที่โลกแฟชั่นนำเสนอ หากเราพูดถึงบุหรี่ก็จะมียี่ห้อดังๆ เพียงไม่กี่ยี่ห้อที่ครองตลาดมาอย่างยาวนาน แต่ช่วงยุค ‘60s เป็นต้นมา มีการเจาะตลาดกลุ่มใหม่โดยมุ่งเน้นไปที่หญิงสาวในแวดวงแฟชั่นเป็นหลัก ไลฟ์สไตล์อันหวือหวาตอบโจทย์การสะท้อนภาพลักษณ์ความขบถได้เป็นอย่างดี และบุหรี่ที่เก๋มีสไตล์ทำไมจะพลาดตลาดกลุ่มนี้ไปได้ ครั้งหนึ่งเคยมีบุหรี่สายรุ้งสวยงามออกมาเพื่อดึงดูดนักสูบมีสไตล์ ดีไซน์ความบางซิลูเอตสลิมตามค่านิยมยุคนั้น ประกอบกับรูปแบบการนำเสนอโฆษณาที่ชวนหลงใหล บุหรี่แฟชั่นจึงกลายเป็นไอเท็มติดตัวของเหล่าหนุ่มสาวมีสไตล์ในยุคนั้น

บุหรี่, บุหรี่แฟชั่น, cigarette, cigarette case, le smoking, le smoking jacket, yves saint laurent le smoking, cigarette fashion, fashion smoking, fashion, แฟชั่น

Dovima นางแบบดังโพสท่าพร้อมบุหรี่เพื่อถ่ายภาพลงในนิตยสารโว้กอเมริกาฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 1953 / ภาพ: Vogue US

     เมื่อพูดถึงระบบค่านิยมไปแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่ขาดไปไม่ได้คือเรื่องแง่มุมทางศิลปะ ในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิคสร้างภาพให้น่าสนใจสอดประสานกับเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพที่ล้ำยุคไปทุกวัน แต่สมัยก่อนการถ่ายภาพกล้องฟิล์มพร้อมข้อจำกัดหลายอย่างก็ไม่ได้เปิดโอกาสให้มีจุดดึงดูดความสนใจของภาพเยอะมากนัก บุหรี่เป็นสิ่งหนึ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันและเป็นภาพสะท้อนคนในแวดวงอยู่แล้ว ดังนั้นการใช้บุหรี่เป็นพรอพ ทั้งการสร้างความน่าตื่นเต้น การสร้างซิลูเอต และท่าทางการโพสคือมนต์เสน่ห์อันน่าเย้ายวนที่ครั้งหนึ่งเคยฮิตจนใครๆ ก็ทำ

บุหรี่, บุหรี่แฟชั่น, cigarette, cigarette case, le smoking, le smoking jacket, yves saint laurent le smoking, cigarette fashion, fashion smoking, fashion, แฟชั่น

บรรยากาศการสูบบุหรี่บนเครื่องบินที่ตอนนี้ไม่สามารถทำได้อีกต่อไปแล้ว / ภาพ: Insider

     พอกันทีกับบุหรี่ในโลกแฟชั่น...ก้าวข้ามมาในโลกยุคใหม่ดูเหมือนผู้คนจะต่อต้านการสูบบุหรี่มากขึ้น มีการรณรงค์เพื่อเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง นั่นแปลว่าบุหรี่ไม่ใช่สิ่งที่ใครๆ ก็เสพกันเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว สังเกตง่ายๆ ว่าสถานที่ต่างๆ ไม่ใช่ “Smoking Free” แม้แต่ในคลับ เปรียบเทียบกับสมัยก่อนที่สามารถสูบบนเครื่องบินได้เลยด้วยซ้ำ แสดงให้เห็นว่าสังคมยุคใหม่ไม่ได้เปิดให้ควันบุหรี่โลดแล่นอย่างเป็นอิสระอีกต่อไป มากไปกว่านั้นความขบถมีสไตล์โดยใช้บุหรี่เป็นเครื่องมือก็ไม่ใช่ความขบถในรูปแบบที่คนรุ่นใหม่ในวงการแฟชั่นต้องการขนาดนั้น

บุหรี่, บุหรี่แฟชั่น, cigarette, cigarette case, le smoking, le smoking jacket, yves saint laurent le smoking, cigarette fashion, fashion smoking, fashion, แฟชั่น

การสูบบุหรี่บนรันเวย์อย่างโจ่งแจ้งและอื้อฉาวของ Kate Moss ในโชว์ Louis Vuitton คอลเล็กชั่นฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว 2011 / ภาพ: Evening Standard

     Kate Moss กับเหตุการณ์ดราม่าสร้างแรงกะเพื่อมอย่างมหาศาล เธอปรากฏตัวในโชว์ Louis Vuitton คอลเล็กชั่นฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว 2011 ณ ตอนนั้น Marc Jacobs รับบทหัวเรือใหญ่อยู่ วันนั้นเธอสูบบุหรี่บนรันเวย์อย่างโจ่งแจ้ง ถ้าเป็นสมัยก่อนอาจเป็นเรื่องปกติและเชื่อว่าหลายคนคงมองมันด้วยความสวยงามในฐานะพรอพของบุหรี่ แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปทุกอย่างก็เปลี่ยนตาม เคตโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ถึงแม้โชว์จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับอิสรภาพ แต่อิสรภาพในการแสดงออกของเคตมาผิดที่ผิดเวลา หลังจากห่างหายจากการเดินแบบและกลับมาในโชว์ระดับยักษ์ใหญ่ แต่เธอกลับโดนคนทั่วไปจัดไปชุดใหญ่เช่นกัน สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่ากลิ่นอายความน่าสนใจแบบเดิมๆ แปรเปลี่ยนไปเฉกเช่นเดียวกับวงล้อแฟชั่นที่หมุนเดิน ทุกอย่างมีช่วงเวลาทองของมันและพร้อมดับสลาย เปรียบดั่งบุหรี่ที่ถูกจุดขึ้นและเผาไหม้จนหมดมวน ถ้ายุค ‘20s คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้บุหรี่น่าสนใจขึ้นมาในโลกแฟชั่นคล้ายกับการลิ้มรสแปลกใหม่ในช่องปากตอนเริ่มสูบ ช่วงยุค ‘60s เป็นเหมือนบุหรี่กลางมวนที่มอบรสยาสูบเต็มกำลัง ช่วงยุคมิลเลนเนียลเหมือนบุหรี่ก้นมวนที่ให้รสชาติไม่ค่อยอภิรมย์เท่าไหร่นักแต่ยังอัดแน่นปิดท้ายก่อนหมดมวน พอมาถึงยุคนี้เหมือนบุหรี่ที่ดับมอดลง สูบไม่ได้อีกแล้ว วงล้อบุหรี่กับแฟชั่นคงจบลงดั่งการเปรียบเทียบแบบนี้นั้นแล

 

ข้อมูล:

tandfonline.com

theguardian.com

pmi.com

standard.co.uk

popsugar.com

mirror.co.uk

WATCH

คีย์เวิร์ด: #Smoking