FASHION

5 บทเรียนจากข่าวฉาวในวงการแฟชั่น

        เรื่องอื้อฉาวนั้นมีอยู่คู่ทุกวงการแต่ในวงการแฟชั่นมักจะได้รับการจับตามองเป็นพิเศษ เราจึงรวบรวมบทเรียนจากความผิดพลาดของเหตุการณ์ดังในวงการแฟชั่น เพื่อที่จะเป็นป้ายระวังให้ทุกๆ คน

ประเด็นที่1 จงระวังเรื่องสีผิวและเชื้อชาติ

        แม้เหมือนจะง่าย แต่ในปัจจุบันยังมีหลายแบรนด์ที่พลาดให้กับประเด็นนี้และยังคงอยู่คู่วงการมาอย่างยาวนานราวกับว่าไม่มีความสำคัญ นักศึกษาจากมหาลัยแฟชั่นชื่อดังในนิวยอร์คก็ยังเคยพลาดท่า เนื่องจากให้นายแบบใส่เครื่องประดับรูปหูและปากเทียมที่มีสัดส่วนใหญ่เกินจริง อย่างไรก็ตามแบรนด์สตรีทแวร์อย่าง Supreme ได้พิสูจน์ว่าตัวเองไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในประเด็นเหยียดเชื้อชาติ โดยโพสต์ในอินสตาแกรมว่า สังคมคนผิวสีได้ปลุกแรงบันดาลใจให้พวกเขาในการทำงานตั้งแต่คอลเล็กชั่นแรกจนถึงปัจจุบัน พร้อมบริจาคเงินกว่า 5 แสน ดอลลาร์สหรัฐให้สมาคม Black Lives Matter, Equal Justice Initiative และ Campaign Zero

 

ภาพจาก Getty image

ประเด็นที่ 2 แฟชั่นเป็นเรื่องของคนทุกเพศ และรูปร่างทุกแบบ

        ต้องขอบคุณกระแสจากกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ และกลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรี ที่ปลุกกระแสในหัวข้อนี้มาอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงก็ยังคงมีความล้าหลังที่Victoria’s secret เผชิญหน้ากับความวุ่นวายครั้งใหญ่ เมื่อประธานฝ่ายการตลาด Edward Razek มีความคิดเห็นที่ไม่เป็นธรรม ในการอธิบายว่าทำไมทางแบรนด์ไม่รับนางแบบข้ามเพศ แต่สุดท้ายก็จ้าง Valentina Sampaio นางแบบข้ามเพศมา แต่ผู้บริโภคกลับไม่แยแส หลายๆ ประเด็นที่วิกตอเรียซีเคร็ตสร้าง ยังคงชวนให้คนถกเถียงกันในเรื่องมาตรฐานความสวยและมุมมองที่คับแคบในเรื่องความงาม

ภาพ Valentina Sampaio จาก Justrends

ประเด็นที่ 3 การออกแบบแฟชั่นยากกว่าที่คิด

        เมื่อตอนที่ Alber Elbaz ถูกไล่ออกจาก Lanvin มันเหมือนเป็นบทเรียนแห่งการรับมือกับความผิดพลาด เมื่อเจ้าของแบรนด์กำลังกำจัดนักออกแบบผู้ซึ่งมอบชีวิตใหม่ให้กับแบรนด์ ส่งผลให้ดีไซน์ของแบรนด์กลับมาล้าหลัง เมื่อตำแหน่งดีไซเนอร์ของแบรนด์ลองแวงถูกแทนที่ เห็นได้ชัดว่ายากที่จะหาดีไซเนอร์ที่พอดีและเหมาะสมกับแบรนด์อย่างอัลแบร์ เมื่อเวลาผ่านไปเพียงไม่นาน Jarrar กูตูริเยร์คนเก่งก็ออกจากลองแวงหลังจากอยู่ได้เพียง1ปี ทำให้ Olivier Lapidue เข้ารับตำแหน่งแทน จากนั้นแบรนด์ก็ถูกขายให้กับบริษัทแฟชั่นจีน และกำลังรีบูตตัวเองด้วยความร้อนรนภายใต้การดูแลของ Bruno Sialelli



WATCH




ภาพจาก Getty image

ประเด็นที่4 ปัญหาการคุกคามทางเพศทำให้นางแบบและนายแบบต่างพากันติดแฮชแท็ก #metoo

        ปัญหาการคุกคามทางเพศมีมาอย่างยาวนานในวงการแฟชั่น โดยเฉพาะกับนางแบบและนายแบบที่ส่วนมากเป็นวัยรุ่น ทำให้พวกเขาไม่มีพลังพอที่จะสู้กับการคุกคามของช่างกล้อง ประเด็นนี้ได้รับความสนใจมากเมื่อนักข่าว New York Times ตีแผ่เรื่องราวของนายแบบที่ต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าช่างภาพชื่อดัง Bruce Weber คุกคามทางเพศพวกเขา อีกตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ คือคดีของ Harvey Weinstein โปรดิวเซอร์ชื่อดัง ที่ถูกพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 23 ปี เนื่องจากล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิง 2 คน ทำให้ชาวเน็ตต่างพากันติดแฮชแท็ก #metoo เพื่อประณามการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงบอกเล่าประสบการณ์ในฐานะผู้ตกเป็นเหยื่อ

ภาพจาก Dcaf

ประเด็นที่5 ปัญหาสุขภาพจิตเป็นเรื่องใหญ่และควรได้รับการรักษาโดยเร็ว

        เป็นที่รู้กันดีว่าดีไซเนอร์เก่งๆ หลายคน มีปัญหาสุขภาพจิต ดีไซเนอร์ชาวเยอรมันแห่งห้องเสื้อ Balenciaga ฆ่าตัวตาย ทำให้หลายคนเสียดายความสามารถของเขา เนื่องจากเขาประสบความสำเร็จมากในช่วงยุคทศวรรษ 1980- 1990 จนกระทั่งเขาเสียหลักกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมแฟชั่นที่หันไปเอาดีทางด้านการตลาดและตัวสินค้า แทนที่จะให้ความสำคัญกับโอตกูตูร์และการออกแบบที่แปลกใหม่

        ในช่วงนั้นความตึงเครียดของอุสาหกรรมแฟชั่นเข้มข้นมาก John Galliano ถูกไล่ออกจาก Dior ในปี 2012 เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่เขาต่อต้านกลุ่มเซมิติกในที่สาธารณะ อีกทั้งในเวลานั้น Galliano กำลังติดยาเสพติดอย่างมาก ทำให้เขาต้องยอมจำนนต่อความผิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่กี่ปีต่อมาดีไซน์เนอร์มากความสามารถอย่าง Alexander McQueen ก็ฆ่าตัวตายเพราะปัญหาสุขภาพจิต  

ภาพจาก Anothermag     

  5 บทเรียนเหล่านี้เป็นเหมือนเครื่องเตือนใจของคนในอุตสาหกรรมแฟชั่นที่ยากจะลืมเลือน สิ่งที่แบรนด์หรือผู้ทำสื่อในอุตสาหกรรมแฟชั่นเลือกแสดงออกล้วนมีอิทธิพลต่อสังคมในวงกว้าง และแน่นอนว่ามันส่งผลอย่างมากต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เดิมพันด้วยชื่อเสียงของแบรนด์ที่สร้างมาอย่างยากลำบาก หลายครั้งที่ความผิดพลาดเหล่านี้เกิดขึ้นจากความไม่ตั้งใจ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือทำการบ้านไม่ดีพอ แต่กระนั้นมันกลับกลายเป็นบทเรียนสำคัญที่สอนให้คนแฟชั่นทุกวันนี้รู้ว่าวงการแฟชั่นในยุคนี้ไม่ได้ว่ากันด้วยเรื่องของความสวยงามแบบฉาบฉวยอีกต่อไป แต่คุณค่าในเนื้อแท้ มันสมอง และความไม่เพิกเฉยต่อปัญหาในสังคมต่างหากคือ “แฟชั่นที่อินเทรนด์”

 

ผู้เขียน : ญาณิศา แผนสนิท

WATCH