FASHION

เจาะลึกผลงานใหม่ของ 132 5. Issey Miyake พร้อมนั่งคุยกับผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จตลอด 12 ปี

สำรวจทุกรายละเอียดของผลงานฤดูกาลใหม่จาก 132 5. Issey Miyake แบรนด์ที่มีปรัชญาแห่งความสร้างสรรค์ที่บรรจบกับเทคโนโลยีการตัดเย็บแบบญี่ปุ่น

     เชื่อได้เลยว่าพอพูดถึงชื่อของ Issey Miyake สิ่งที่ผุดขึ้นมาในความคิดแรกคงหนีไม่พ้นเสื้อผ้าดีไซน์เก๋แปลกตาหรือไม่ก็เทคนิคการจับพลีตอัดกลีบที่เป็นเสมือนเอกลักษณ์ของดีไซเนอร์ชาวญี่ปุ่นผู้ก่อตั้ง สำหรับอิซเซ่ มิยาเกะนั้นถือเป็นหนึ่งในนักออกแบบผู้มากความสามารถผู้บุกเบิกชื่อเสียงมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 แม้เวลาจะผ่านไปกว่าห้าสิบปีแล้วก็ตามแต่ผลงานของดีไซเนอร์ผู้นี้ก็ยังคงมอบแรงบันดาลใจให้แก่นักออกแบบรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดเกี่ยวกับเสื้อผ้าหรือเทคนิควิธีการตัดเย็บล้วนถูกถ่ายทอดออกมาราวกับเป็นมรดกแห่งความสร้างสรรค์

     นอกเหนือไปจากงานดีไซน์เฉพาะตัวแล้ว เทคโนโลยีล้ำหน้าที่ผสานไปการออกแบบยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชื่อเสียงของแบรนด์อิซเซ่ มิยาเกะยังคงเป็นที่จดจำและได้รับความนิยมจากแฟนคลับอย่างไม่เสื่อมคลาย โดยในปี 2007 อิซเซ่พร้อมด้วย Reality Lab ทีมออกแบบและพัฒนาของแบรนด์ได้ทุ่มเททดลองไอเดียใหม่ๆ เกี่ยวกับเสื้อผ้า ทั้งวิธีการสวมใส่ การตัดเย็บและเนื้อผ้าแบบรีไซเคิล “เสื้อผ้าที่นำความรื่นรมย์และความสุขมายังยังผู้สวมใส่” แนวคิดดั้งเดิมของอิซเซ่ผสานเข้ากับไอเดียใหม่ที่เชื่อว่าความสวยงามเกิดขึ้นจากการพับ สององค์ประกอบนี้ถูกต่อยอดให้กลายเป็นแบรนด์ใหม่นามว่า “132 5. Issey Miyake” ในปี 2010

1 / 6

132 5. STANDARD Series



2 / 6



3 / 6



4 / 6



5 / 6



6 / 6



     ความน่าสนใจของแบรนด์ใหม่นี้เร่ิมต้นตั้งแต่การตั้งชื่อด้วยตัวเลขสี่ตัว โดยเลขแต่ละตัวนั้นจะสะท้อนถึงปรัญชาอันลึกซึ้งที่ดีไซเนอร์และทีมพยายามนำเสนอ เลข 1 เป็นตัวแทนของระนาบหนึ่งมิติซึ่งเกิดจากด้านกว้างยาวของ “ผ้าหนึ่งชิ้นที่ถูกนำมาทำเป็นเสื้อผ้า” โดยแนวคิดเกี่ยวกับการนำผ้าเพียงหนึ่งผืนคลี่คลายออกมาให้เป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่ได้นั้นยังถือเป็นรากฐานของงานออกแบบของอิซเซ่มาตั้งแต่ช่วงเซเว่นตีส์เลยทีเดียว เลข 3 สื่อรูปทรงสามมิติ ความกว้างยาวของชิ้นผ้าที่แบนราบถูกสร้างสรรค์ออกเป็นเครื่องแต่งกายประหนึ่งงานประติมากรรมลอยตัว ความพิเศษของการสร้างปริมาตรให้แก่เสื้อผ้าแต่ละตัวยังอยู่ที่การพับชิ้นผ้าให้กลายเป็นรูปทรงต่างๆ ซึ่งนอกจากนักออกแบบแพตเทิร์นที่ทำหน้าที่ประหนึ่งวิศวกร ทางแบรนด์ยังได้ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาเทคนิคการออกแบบและคำนวณสัดส่วนที่แม่นยำ โดยยังประยุกต์ศาสตร์การพับกระดาษของญี่ปุ่นหรือ “โอริกามิ” มาใช้บนเสื้อผ้าอีกด้วย

     รหัสตัวถัดมาคือเลข 2 ตัวแทนของการพับทบแบบสองมิติ นอกจากโอริกามิแล้วในวัฒนธรรมญี่ปุ่นมักปรากฏเรื่องราวของการพับสอดแทรกในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษสีขาวที่พับบิดไปใช้ประดับตามศาลเจ้าหรือในพิธีของศาสนาชินโต สิ่งพื้นฐานของบ้านแบบดั้งเดิมอย่างสื่อทาทามิที่สานขึ้นจากวัสดุธรรมชาติก็ถูกตั้งชื่อตามคำกริยาที่หมายถึงการพับ จำลองเอาวิธีการใช้สื่อที่สามารถพับเก็บได้ หรือกระทั่งรอยพับบนชุดกิโมโนที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการพับเก็บรักษาอย่างถูกต้อง ตัวเลขลำดับสุดท้ายคือ 5 เปรียบเสมือนการรวมกันของเวลาและมิติต่างเข้าด้วยกัน สื่อถึงเสื้อผ้าของแบรนด์ที่เปลี่ยนผ่านจากระนาบแบนๆ ไปสู่รูปทรงแบบสามมิติ แล้วก็กลับมาพับทบกันเพื่อเก็บรักษา แน่นอนว่ายังเชื่อมโยงกับรูปร่างของมนุษย์และประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งสร้างอารมณ์ต่างๆ ให้เกิดขึ้นมา



WATCH




1 / 8

132 5. SQUARE UNITS



2 / 8

132 5. SQUARE UNITS



3 / 8

132 5. SQUARE UNITS



4 / 8

132 5. SQUARE UNITS



5 / 8

132 5. SQUARE UNITS



6 / 8

132 5. SQUARE UNITS



7 / 8

132 5. SQUARE UNITS



8 / 8

132 5. SQUARE UNITS



1 / 3

132 5. OPEN FOLIO



2 / 3

132 5. OPEN FOLIO



3 / 3

132 5. OPEN FOLIO



     สำหรับผลงานล่าสุดประจำฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน 2022 “Open up” ดีไซน์สตูดิโอของแบรนด์ได้บอกเล่าไอเดียเกี่ยวกับเปิดออกของสิ่งต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจผ่านเสื้อผ้าซีรี่ส์ต่างๆ เริ่มด้วย “Square Units” ภาพโลโก้ของแบรนด์ถูกนำมาตีความใหม่โดยใช้ผ้าโพลีเอสเตอร์ที่ผลิตขึ้นจากพืช เมื่อนำเสื้อผ้าแต่ละชิ้นมาวางราบบนพื้นจะปรากฏรูปสี่เหลี่ยมแบบต่างๆ ที่สื่อถึงเลขพิเศษทั้งสี่ของแบรนด์ ก่อนจะคลี่คลายออกมาเป็นเสื้อผ้าสามมิติที่ตัดกันด้วยสีสองเฉด “Open Folio” แรงบันดาลใจจากรูปแบบการเปิดของหนังสือ งานพิมพ์ลายแบบทรานส์เฟอร์ถูกนำมาใช้และถ่ายทอดลงบนเนื้อผ้าทั้งสองด้านเพื่อทำให้ไม่สามารถมองเห็นสีพื้นของผ้าได้ แต่เมื่อเปิดออกเสื้อผ้าไปเปลี่ยนรูปและเผยสีที่แท้จริงของผ้าออกมา “Switching Color” เสื้อผ้าในซีรี่ส์นี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามใจของผู้สวมใส่ โดยใช้กระดุมสแน็ปติดประกบที่ส่วนต่างๆ ทำให้โครงสร้างและรูปแบบของชุดเปลี่ยนไป

บทสัมภาษณ์พิเศษของดีไซน์สตูดิโอผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างสรรค์ของ 132 5. Issey Miyake ส่งตรงจากประเทศญี่ปุ่นสำหรับผู้อ่านโว้กเพียงที่เดียว

 

Vogue: 132 5. Issey Miyake ถือเป็นแบรนด์ซึ่งโดดเด่นเรื่องงานดีไซน์ที่ผสมผสานไปกับเทคโนโลยี เบื้องหลังของการสร้างสรรค์นี้เริ่มขึ้นได้อย่างไร

Design Studio: ในแต่ละฤดูกาลเรายังคงมองหาสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอโดยที่ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวที่ชัดเจน อันที่จริงแล้วในระหว่างกระบวนการออกแบบเองซึ่งมุ่งไปสู่จุดหมายหนึ่ง เราก็มักค้นพบสิ่งน่าสนใจและบ่อยครั้งสิ่งเหล่านี้ได้ถูกจุดประกายไปสู่คอลเล็กชั่นถัดไป เราเชื่อว่าด้วยลักษณะการทำงานแบบนี้เอง ช่วยให้เราค้นพบแนวทางที่ผสมผสานงานออกแบบกับเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้าด้วยกัน อย่างเช่นคอลเล็กชั่น Outline ซึ่งตรงกับช่วงครบรอบ 10 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งแบรนด์ขึ้นมา ตอนนั้นเรามองกลับไปยังผลงานเก่าและกลับไปยังจุดตั้งต้น ไอเดียเกี่ยวกับคาแร็กเตอร์ของ 132 5. Issey Miyake ที่ถูกค้นพบจากการทำงานครั้งนั้นกลายมาเป็นคอลเล็กชั่น Square ในผลงานฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน 2021 เรายังมักจะแชร์ธีมหลักในการค้นคว้าและหยิบเอาไอเดียต่างๆ มารวมเข้าด้วยกันอย่างเช่นคอลเล็กชั่น Lines เองก็เป็นการหยิบเอาโลโก้รูปสี่เหลี่ยมของแบรนด์มาดัดแปลงเป็นเสื้อผ้า รูปทรงและไอเดียที่ทีมดีไซน์ได้พัฒนาในผลงานฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว 2021 ในชื่อ Wrap ที่ว่าด้วยการห่อหุ้มถูกคลี่คลายสู่คอลเล็กชั่น Open Up ในฤดูกาลล่าสุด ความพยายามในการค้นคว้าผ่านกระบวนการออกแบบ การปรับเปลี่ยนและคอยอัปเดตสิ่งต่างๆ อยู่เสมอช่วยชี้นำไปสู่ผลงานใหม่ลำดับต่อๆ ไปของแบรนด์

 

V: ส่วนที่ท้าทายที่สุดในการทำงานแต่ละครั้งคืออะไร

D: เป็นเรื่องยากเมื่อเราต้องคำนึงถึงปรัชญาของแบรนด์ 132 5. Issey Miyake พร้อมๆ กับรักษาความสมดุลระหว่างความสนุกสนานของงานดีไซน์กับความสบายของเสื้อผ้า ความท้าทายนี้เลยเปรียบเหมือนรางวัลของพวกเรา ทีมออกแบบมักจะแชร์และแลกเปลี่ยนความคิด รวมถึงการพูดคุยถึงทุกเรื่องและทุกเวลา สมาชิกในทีมที่แตกต่างกันนำไปสู่ไอเดียที่หลากหลาย ซึ่งต้องทำให้คิดกลับไปมาไม่ว่าจะเรื่องของการเคลื่อนไหวหรือโครงสร้างพับของเสื้อผ้า เป็นความท้าทายที่ผสมกับความสนุกสนานในทุกขั้นตอน ในกระบวนการสร้างสรรค์ของเราทีมดีไซน์พยายามเน้นย้ำถึงความสุขเวลาได้ค้นพบแนวทางและสนุกสนานไปกับไอเดียเหล่านั้น ในทุกครั้งที่กลับมาเร่ิมต้นงานกันใหม่ความรู้สึก “เซอร์ไพรส์” และ “ความอิสระ” ได้กลายเป็นรากฐานของการทำงาน เราเลยอยากส่งต่อความอิสระขณะที่ทำเสื้อผ้าชิ้นต่างๆ ไปสู่หัวใจของผู้สวมใส่ทุกคน

1 / 8

132 5. LINES 



2 / 8

132 5. LINES 



3 / 8

132 5. LINES 



4 / 8

132 5. LINES 



5 / 8

132 5. LINES 



6 / 8

132 5. LINES 



7 / 8

132 5. LINES 



8 / 8

132 5. LINES 



V: ตัวเลขในชื่อ “132 5. Issey Miyake” มีความสำคัญอย่างไร และมีส่วนช่วยพัฒนาทิศทางของการสร้างสรรค์หรือไม่

D: ชื่อแบรนด์เชื่อมโยงไปกับแนวคิดเรื่องมิติ เสื้อผ้าที่ราบไปกับพื้นในลักษณะ 1 มิติ จากนั้นก็ถูกสวมใส่บนร่างกายแบบ 3 มิติ ขณะเดียวกันก็ยังสามารถพับทบให้เป็น 2 มิติได้ด้วย วิธีที่สวมใส่และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อผสมผสานกับเวลาและมิติข้างต้นก็กลายเป็นมิติที่ 5 เราเน้นย้ำเสมอถึงความความสำคัญของเสื้อผ้าจะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อเหมือนผู้คนสวมใส่มัน สำหรับนักออกแบบในสตูดิโอเลข 5 ยังเปรียบได้กับองค์ประกอบลึกลับ ยิ่งเหมือนแนวคิดของเราผูกโยงเข้ากับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วยมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม แพตเทิร์นของเสื้อผ้าเร่ิมต้นจากแนวคิดในการเอาชิ้นผ้ามาตัดเย็บโดยไม่เหลือทิ้ง ก่อนจะเปลี่ยนให้ผ้าแบนยืดขยายไปแบบเสื้อผ้าในรูปแบบสามมิติ เสื้อผ้าของ 132 5. Issey Miyake ที่ถูกคิดค้นจากแนวคิดหลักนี้ไม่เพียงกลายเป็นเอกลักษณ์สำคัญ แต่ยังรวมถึงฟังก์ชั่นการสวมใส่ที่ง่ายดาย เปี่ยมด้วยความสนุกสนานขณะที่มองดูและใช้พื้นที่จัดเก็บเพียงเล็กน้อยด้วยการพับทบ

1 / 3

กระบวนการทำชิ้นงานคอลเล็กชั่น 132 5. ISSEY MIYAKE



2 / 3

กระบวนการทำชิ้นงานคอลเล็กชั่น 132 5. ISSEY MIYAKE



3 / 3

กระบวนการทำชิ้นงานคอลเล็กชั่น 132 5. ISSEY MIYAKE



V: ทราบมาว่าทางแบรนด์ได้นำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ตั้งแต่เร่ิมต้นแบรนด์ ก่อนที่กระแสเกี่ยวกับความยั่งยืน (Sustainability) จะกลายเป็นประเด็นสำคัญในแวดวงเสื้อผ้า อยากให้ช่วยเล่าถึงความพิเศษในการพัฒนาวัสดุพิเศษเหล่านี้ในคอลเล็กชั่นล่าสุด

D: เราเร่ิมต้นทำงานกับวัสดุรีไซเคิลตั้งแต่ช่วงแรกของทศวรรษ 2000 โดยมองว่าการพัฒนาวัสดุเหล่านี้คือสัญลักษณ์ของอนาคตและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะกับทีมออกแบบของเราซึ่งมีคนจากเจนเนอเรชั่นต่างๆ อยู่ร่วมกัน การถือกำเนิดขึ้นของแบรนด์ในปี 2010 คือผลลัพธ์ของความพยายามในการพัฒนาไปสู่อนาคต เราทดลองสร้างผ้ารีไซเคิลแบบ 100% จากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่ผลิตขึ้นจากขวดน้ำพลาสติก ก่อนจะนำไปปรับปรุงคุณภาพในโรงงานทอที่เชื่อถือได้เพื่อให้กลายเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย แน่นอนว่าเรายังคงพัฒนาวัสดุเพื่อความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง สำหรับฤดูกาลล่าสุดนั้นบางส่วนใช้วัสดุที่ได้จากพืชและเส้นใยชนิดพิเศษที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดผลกระทบต่อธรรมชาติได้ดีกว่าเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลแบบเก่า เรานำเส้นใยเหล่านี้มาทอขึ้นใหม่จนกลายเป็นวัตถุดิบที่ผู้คนสามารถสวมใส่ได้ ทั้งอย่างเหมาะกับเทคนิคการเดรปและมอบความสบายอย่างที่สุด

1 / 5

132 5. PIGMENT DYE COTTON



2 / 5

132 5. PIGMENT DYE COTTON



3 / 5

132 5. PIGMENT DYE COTTON



4 / 5

132 5. PIGMENT DYE COTTON



5 / 5

132 5. PIGMENT DYE COTTON



1 / 4

132 5. KITE



2 / 4

132 5. KITE



3 / 4

132 5. KITE



4 / 4

132 5. KITE



V: อยากแนะนำชิ้นไหนบ้างให้สาวไทยได้ลองใส่กันบ้าง

D: ซีรี่ส์ 132 5. Standards ถือเป็นการรวมไอเท็มสำคัญของแบรนด์ที่มีมาตั้งแต่เริ่มต้น เสื้อผ้าคลาสสิกกลุ่มนี้ยังถูกนำไปจัดแสดงที่นิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑ์ Desgin Museum ในลอนดอนและ The Museum of Modern Art (MoMA) ในนิวยอร์กด้วย ส่วนสำหรับฤดูกาลนี้ขอแนะนำซีรี่ส์ Square Units ซึ่งเรายังนำไปจัดแสดงที่นิทรรศการ Issey Miyake Semba ที่เมืองโอซาก้า ซีรี่ส์ Open Folio ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากวิธีการเปิดของหนังสือ ซีรี่ส์ Kite ที่ใช้วัสดุจากพืชในการสร้างสรรค์ ซีรี่ส์ Pigment Dye Cotton ซึ่งใช้ผ้าฝ้ายเนื้อนุ่มในการตัดเย็บ

 

     

     ประเทศไทยมีอากาศที่อบอุ่นและวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ดังนั้นอาจเป็นไปได้ที่ผู้คนจะทำกิจกรรมที่หลากหลายทั้งในและนอกสถานที่ ไอเท็มเหล่านี้สามารถหยิบไปเดินทางท่องเที่ยวได้โดยไม่รู้สึกเทอะทะ เป็นเสื้อผ้าที่ดูแลรักษาได้ง่ายและหยิบมาสวมใส่เวลาออกไปข้างนอกได้ดี แหล่งที่มาของความสุขในการสร้างสรรค์เสื้อผ้าของ 132 5. Issey Miyake คือการมอบความรู้สึกอิสระให้แก่ผู้สวมใส่

ภาพ : ©︎ISSEY MIYAKE INC

WATCH

TAGS : IsseyMiyake