fashion-for-peace
FASHION

‘Fashion for Peace’: โว้ก ยูเครน และ โว้ก สิงคโปร์รวมกลุ่มระดมทุนสำหรับยูเครนผ่านงาน NFT สุดพิเศษ

งานศิลปะ NFT สุดพิเศษคอลเล็กชั่นนี้ประกอบด้วยผลงานของศิลปินชาวยูเครนและศิลปินที่อาศัยในยูเครน 6 คน 6 แบรนด์ โดยรายได้ทั้งหมดจะมอบให้องค์กรการกุศล ‘Save The Children Ukraine’

       การสำรวจเมตาเวิร์สของโว้ก สิงคโปร์ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ ซึ่งล่าสุดได้เปิดตัวฉบับพิเศษประจำเดือนกันยายนที่มีหน้าปกแบบดิจิทัลเท่านั้นในรูปแบบ NFTs และล่าสุดก็ได้ร่วมมือกับศิลปินมัลติมีเดียอย่าง Luna Ikuta และเธอได้นำเสนอภาพชุดที่มีจำนวนจำกัดชื่อว่า '12 Months of Afterlife' (สิบสองเดือนหลังความตาย) และอีกมากมาย

       เป็นที่รู้กันว่าเมตาเวิร์สได้พิสูจน์แล้วว่ามันเป็นพื้นที่สำหรับความเป็นไปได้ที่ไร้ขีดจำกัดนำไปสู่ความสำเร็จ โว้ก ยูเครน และโว้ก สิงคโปร์ จึงได้จัดโครงการ 'Fashion in Peace' หรือ 'แฟชั่นเพื่อสันติภาพ' ขึ้นด้วยการร่วมมือกับดีไซเนอร์และศิลปินทั้ง 6 คน เหตุเพราะประเทศยูเครนถูกรุกรานจากประเทศรัสเซียในขณะนี้ เพื่อช่วยระดมทุนสำหรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ความร่วมมือพิเศษนี้จะนำงานศิลปะ ภาพสเก็ตช์ และรูปถ่ายวางขายบนแพลตฟอร์มโอเพ่นซีที่ใช้เหรียญสกุลเอเธอเรียมเป็นพื้นฐาน โดย NFT ของแต่ละงานจะวางขาย 50 ชิ้นในราคาชิ้นละ 0.5ETH เริ่มขายวันที่ 15 มีนาคม เวลา 20.00 น. SGT หรือ 8.00 น. EST เป็นต้นไป รายได้ทั้งหมดจะบริจาคให้องค์กรการกุศลที่มีชื่อว่า 'Save The Children Ukraine' ทั้งนี้ โว้กได้พูดคุยกับศิลปินทั้ง 6 คนถึงสิ่งที่ผู้อ่านสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นโดยพวกเขาแปลงผลงานให้เป็นรูปแบบ NFTs เป็นครั้งแรก และพวกเขาก็สร้างความหวังของผลงานดังกล่าวให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

fashion-for-peace

'Anna October' ดีไซเนอร์ และครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ของแบรนด์เสื้อผ้าสตรี / ภาพ: Vogue Singapore

Anna October

     เมื่อนึกถึงดีไซเนอร์ Anna October มีความเป็นไปได้สูงว่าสิ่งที่จะเข้ามาในหัวคือเสื้อผ้าผู้หญิงสุดโรแมนติกภายใต้แบรนด์ที่เป็นชื่อของเธอ เริ่มจากแนวคิดของแบรนด์ในปี 2010 ออคโทเบอร์ได้รับการพูดถึงในชื่อของผู้สนับสนุนหญิงสาว ตั้งแต่การทำงานกับช่างฝีมือชาวยูเครนเพื่อผลิตเสื้อถักไปจนถึงการร่วมมือกับเพื่อนศิลปินหญิง “ในฐานะดีไซน์เนอร์ ฉันได้รับแรงบันดาลใจจากความเก่งกาจของผู้หญิงชาวยูเครน พวกเธอสามารถทำธุรกิจเป็นผู้ดูแลและหัวใจของบ้าน รวมไปสร้างอนาคตของประเทศได้ในเวลาเดียวกัน” เธอกล่าว

 



WATCH




     วิกฤติที่ดำเนินอยู่นี้กระทบออคโทเบอร์ด้วยเช่นกัน หลังจากความวุ่นวายในการโชว์ที่ปารีสแฟชั่นวีกออคโทเบอร์พบว่าเธอไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้เพราะสถานการณ์ความรุนแรงดังกล่าว แต่ท่ามกลางความปั่นป่วนนั้น ดีไซเนอร์สาวกลับมองเห็นถึงโอกาสที่จะนำเสนอพรสวรรค์ และการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของศิลปินชาวยูเครน เธอจึงเลือกผลงาน ‘Poppy’ ภาพถ่ายอันน่าประทับใจของดอกไม้สีพาสเทลคือคำเปรียบเปรยของออคโทเบอร์สำหรับความแข็งแกร่งและความเปราะบางของผู้หญิง และผลงาน ‘Anna’ ภาพถ่ายของออคโทเบอร์เองโดย Luna นักร้องชาวยูเครนเองก็โดดเด่นไม่แพ้กัน “งานศิลปะที่ฉันเลือกสำหรับโปรเจกต์นี้แสดงให้เห็นว่าปรัชญาของแอนนา ออคโทเบอร์เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและมรดกของยูเครนอย่างไร ในวัฒนธรรมของยูเครนดอกป๊อปปี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของความงามและความเยาว์วัยที่เข้ากับอัตลักษณ์ของแบรนด์และการรับรู้ความงามที่เชื่อมโยงกับผู้หญิงของฉัน ซึ่งหมายถึงความอ่อนโยนและบอบบาง แต่ก็แข็งแกร่งในขณะเดียวกัน” เธอแบ่งปันแนวคิด

     

fashion-for-peace

'Dima Levenko' ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Lengi Lengi ในยูเครน / ภาพ: Vogue Singapore

Lengi Lengi

     คนที่คุ้นเคยกับงานของ Dima Ievenko จะรู้ว่าแบรนด์เสื้อกันหนาวของ Lengi Lengi ที่ก่อตั้งในปี 2016 ได้เข้าสู่วงจรไลฟ์สไตล์ของเหล่าคนดังอย่างรวดเร็ว เพราะได้รับการยอมรับจากเหล่าวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี และผลงานที่เป็นตัวบ่งบอกความเป็นตัวของเขาได้ชัดเจนที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นภาพถ่ายประวัติศาสตร์ที่มีชื่อว่า ‘การสำรวจขั้วโลกใต้’ ซึ่งเห็นได้ว่าทีมแอนตาร์กติกของยูเครนใส่เสื้อปาร์ก้าสำหรับการเดินทางของเยนกิ 

fashion-for-peace

ผลงาน 'Antarctic Expedition' จากแบรนด์ Lengo Lengi ถ่ายโดย Sasha Maslov ช่างภาพจากนิวยอร์ก / ภาพ: Vogue Singapore    

     “เสื้อปาร์ก้านั้นออกแบบขึ้นเพื่อให้สมาชิกทีมของฐานวิจัย Vernardsky สามารถทำงานที่เป็นประโยชน์ และดำเนินงานวิจัยอันทรงคุณค่าในขั้วโลกใต้ได้โดยที่ไม่ได้รับผลกระทบจากอุปสรรคของทวีป รูปถ่ายนี้ประกอบไปด้วยสมาชิกทีมตัวจริงบนเรือตัดน้ำแข็ง ‘Noosfera’ ไม่นานก่อนที่การเดินทางครั้งนี้จะพานักวิทยาศาสตร์ขั้วโลกไปขั้วโลกใต้ภายใต้ธงของยูเครนเป็นครั้งแรก” Levenko อธิบาย

     นอกจากนี้เยเวนโก้ก็ชี้ถึงความเหมือนอย่างมีนัยยะสำคัญระหว่างการสำรวจขั้วโลกใต้ที่ถ่ายรูปไว้โดย Maslov และ NFTs ซึ่งทั้งสองสิ่งเป็นตัวบอกถึงช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลง และบางทีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติก็มีผลต่อพลังของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เขาเสริมว่า “การเข้าร่วมการประมูลนี้คือโอกาสสำหรับเรา ไม่ใช่แค่การดึงความสนใจมาที่เหตุการณ์นี้ แต่ยังมีส่วนช่วยยูเครนต่อต้านการรุนรานของรัสเซียอีกด้วย”

fashion-for-peace

'Anton Belinskiy' ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Anton Belinskiy / ภาพ: Vogue Singapore

Anton Belinskiy 

     ดีไซเนอร์ผู้เลื่องชื่อจากการทดลองของเขาอย่าง Anton Belinskiy นั้นประสบความสำเร็จในการออกแบบเสื้อผ้าที่เรียบง่ายแต่แปลกใหม่ ถึงแม้เขาจะไม่ใช่คนที่เสาะหาแรงบันดาลใจจากสิ่งที่เป็นกระแสนิยมอยู่ ณ ขณะนั้น แต่เขามักแสวงหาวัตถุดิบสำหรับการทำงานจากตัวผู้คนเสียมากกว่า เบลินสกี้ไม่ใช่ดีไซเนอร์ชาวยูเครน แต่เขาเป็นศิลปินที่เกิดในยูเครนก็เท่านั้น สิ่งนี้เป็นตัวนำทางให้เขาถ่ายทอดเรื่องราวของเขาและประวัติศาสตร์ผ่านทิศทางของประเทศ การออกแบบของเขาผสมผสานเสื้อผ้าสำหรับเล่นกีฬา แฟชั่นแนวสตรีตร่วมสมัย รวมไปถึงชุดประจำชาติของยูเครนที่เขาถ่ายทอดออกมาจากการท่องเที่ยวไปทั่วโลก “โดยส่วนตัวแล้ว หลายสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ผมรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นระเบิดขวดค็อกเทลโมโลทอฟ มันคือช่วงเวลาที่คุณท่วมท้นไปด้วยอารมณ์ที่ต่างจากปกติโดยสิ้นเชิง คุณอาจจะระเบิดออกมาได้เลยถ้าเติมเชื้อไฟลงไปสักนิด แต่หลังจากนั้นมันตามมาด้วยอ่าวอันเงียบสงบที่คุณจะขอบคุณพระเจ้าที่วันนั้นเริ่มต้นขึ้น และสิ้นสุดลง” เขาแบ่งปันความรู้สึก

fashion-for-peace

     ผลงาน 'Man of the World' ของ Anton Belinskiy ที่ออกแบบผ่านดิจิทัลโดยศิลปินจากทีมของเขา / ภาพ: Vogue Singapore

     ด้วยความที่เบลินสกี้ไม่สามารถใช้สตูดิโอของเขาได้ในตอนนี้ งานศิลปะชิ้นนี้จึงประกอบไปด้วยการออกแบบ และจำลองขึ้นจากตัวละครดิจิทัลที่สร้างขึ้นโดยศิลปินจากทีมของเขาเอง ในเวลาแบบนี้เขาร้องขอให้ผู้อ่านของโว้กจดจำผู้ซึ่งเป็นที่รักของตัวเอง เขากล่าวไว้ว่่า “ภาวนาเพื่อความสงบสุขบนโลก ขอการอภัยจากคนที่คุณอยู่ด้วยในตอนนี้ และให้ทุกวันพ้องกับหัวใจของคุณเพื่อที่มันจะได้รับการเติมเต็มด้วยความรัก และความเห็นอกเห็นใจ โปรดสนับสนุนโดยการส่งต่อข้อความนี้ออกไปให้ทั่วถึงกัน”

fashion-for-peace

(ซ้าย) 'Natalya Kamenskaya' และ (ขวา) 'Maria Gavrilyuk' ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Gunia Project / ภาพ: Vogue Singapore

Gunia Project 

     หลังจากอยู่ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้ามามากกว่าสิบปี Natalya Kamenskaya ดีไซเนอร์ชาวยูเครน และ Maria Gavrilyuk ผู้กำกับศิลป์ ร่วมกันก่อตั้ง Gunia Project ขึ้นมา ซึ่งตัวแบรนด์มีความภาคภูมิในการนำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมของยูเครนโดยการผสานดีไซน์ร่วมสมัย และเทคนิคงานฝีมือตามแบบฉบับจากช่างฝีมือทั่วประเทศ ผลลัพธ์ของมันออกมาในหลากหลายรูปแบบให้เลือกสรรตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับ ไปจนถึงเสื้อผ้าที่ใส่สบาย

     ในระหว่างที่ทั้งคู่อยู่ในช่วงของการพักผ่อนจากงานเพื่อใช้เวลาร่วมกับครอบครัว พวกเธอเชื่อในการใช้พลังของศิลปะ และการออกแบบในการพูดไปต่อสู้เพื่อความจริง “วัฒนธรรมยูเครนมีความมั่งคั่งในด้านศิลปะ และพวกเราหวังว่านี่จะเป็นวิธีที่เราจะปกป้องสิทธิของประวัติศาสตร์ และรากเหง้าอันน่ามหัศจรรย์ของเรา ศิลปะกับการออกแบบนั้นหมายถึงการสร้างขึ้นใหม่และฟื้นฟู ในตอนที่เรื่องพวกนี้จบลง เรารู้ว่ามันจะเป็นวิธีที่วิเศษมากในการบูรณะประเทศที่สวยงามของเรา” ทั้งสองกล่าว

     ชิ้นงานของพวกเธอถ่ายทอดภาพของสถานการณ์ปัจจุบันผ่านเลนส์ที่ดูเพ้อฝัน พวกเธอกล่าวว่า “มันคุ้มค่าที่จะพูดถึงว่า ไม่ว่าจะเกิดเรื่องที่ซับซ้อนและน่าเศร้าในตอนนี้ ชาวยูเครนไม่เคยเป็นปึกแผ่นขนาดนี้มาก่อน พวกเราสามารถรักษาอารมณ์ขันของเราไว้ได้ด้วยซ้ำ” ผลงานเหล่านี้อุทิศแด่เรื่องราวความกล้าหาญในประเทศ ระเบิดขวดโมโลตอฟค็อกเทลที่ประชนใช้ต่อสู้กับผู้รุกราน เรือของรัสเซียที่กลายเป็นสัญลักษณ์การต่อต้าน และเด็กหญิงถืออาวุธในตอนที่ผู้หญิงในประเทศยืนหยัดต่อต้านความชั่วร้าย

fashion-for-peace

'Lasha Mdinaradze' ครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ของแบรนด์ Gudu  / ภาพ: Vogue Singapore

Gudu

     ครีเอทีฟไดเร็กเตอร์อย่าง Lasha Mdinaradze แห่งแบรนด์ Gudu นั้นหัวขบถ เพราะเขามีอุปนิสัยที่แตกต่างและมีความน่าดึงดูดที่ยากจะต้านทาน การออกแบบและการตัดเย็บของแบรนด์แฟชั่นสัญชาติยูเครนนี้ขับเคลื่อนด้วยการสร้างพลังให้ผู้หญิง เขาจึงมีความตั้งใจที่จะเปิดเผยพลังและลักษณะของหญิงสาวผ่านเสื้อผ้า เขาได้กล่าวไว้ในการร่วมมือของโว้ก สิงคโปร์ และโว้ก ยูเครนว่า “นี่คือประสบการณ์สร้างงาน NFT งานแรกของผมเลย แต่มันก็สำคัญที่จะบอกว่าตอนสร้างผลงานนี้ระหว่างที่อยู่ในดงกระสุน ผมยังคงได้รับการนำทางจากความรู้สึกภายในไม่ใช่จากกระแสภาพแนวเสมือนจริง”

     งานศิลปะของเขาสะท้อนภาพสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ อย่างผลงานแรก 'Checkmate' หรือ 'รุกฆาต' แสดงให้เห็นพลังสีขาวแห่งความกล้าหาญต่อสู้กับพลังมืดสีดำแห่งความชั่วร้าย การใส่สีเหลืองเข้ามาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของธงยูเครนก็สื่อถึงความสงบสุข และความอ่อนโยน การไม่มีอยู่ของมือในรูปสื่อถึงความรู้สึกไร้กำลังของประชาชนชาวยูเครนในชั่วโมงยามของสงคราม ระหว่างที่ท่าทางของลำตัวแสดงว่าพวกเขาพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตัวเองและแผ่นดินของพวกเขา ผลงานถัดมาอย่าง ‘On the side of Good’ คือรูปลักษณ์ของแบรนด์กูดู เราจะเห็นการผสมผสานของลวดลายและสีที่หลากหลาย เพื่อสนับสนุนความรักอันไร้ขีดจำกัดที่มีต่อยูเครนซึ่งเป็นประเทศที่ให้กำเนิดแบรนด์กูดู

fashion-for-peace

 (ซ้าย) 'Daria Shapovalova' และ (ขวา) Natalia Modenova ผู้ก่อตั้งร้านค้าปลีกแฟชั่นดิจิทัลแบรนด์ DressX / ภาพ: Vogue Singapore

DressX

     เมื่อเป็นเรื่องของโลก NFTs ผู้ขายดิจิทัลแฟชั่นอย่าง DressX นั้นก็ถือว่าเป็นผู้นำด้านนี้มาเป็นเวลานาน แต่ในปีที่ผ่านมาผู้ก่อตั้งแบรนด์อย่าง Daria Shapovalova และ Natalia Modenova ได้ปล่อยภาพ NFT ที่ประสบความสำเร็จถึง 12 ภาพ เช่นเดียวกับการร่วมมือกับดีไซเนอร์ Peter Dundas ในการเปิดตัวเสื้อผ้าเซ็ต Big Game ที่ตอนนี้ขายจนหมดแล้ว ในขณะที่สงครามในยูเครนเริ่มต้น ทั้งสองได้เปลี่ยนแฟชั่นดังกล่าวให้เป็นการชุมนุมเพื่อสนับสนุนการลดความรุนแรงในสถานการณ์ดังกล่าว “เราเริ่มแผนงานการกุศลเพื่อจูงใจให้ชุมชนของเราบริจาคเงินในระหว่างที่ซื้อ และสวมใส่ดิจิทัลแฟชั่น รายได้ทั้งหมดจะบริจาคเข้าการระดมทุนหลาย ๆ ที่และให้แก่ดีไซเนอร์ 3D เพื่อสนับสนุนการกุศล” พวกเธอกล่าว

 

fashion-for-peace

ผลงาน ‘Intergalactic Freedom Dress’ ที่คอแลบอเรชั่นระหว่างแบรนด์ DressX และแบรนด์ TSWTRS / ภาพ: Vogue Singapore  

     ส่วนสุดท้ายของการจูงใจนี้คือคอลเล็กชั่นดิจิทัลของเดรสเอ็กซ์ และแบรนด์ TTSWTRS ในประเทศยูเครน “เราได้ปล่อยคอลเล็กชั่นของ TSWTRS ในเดรสเอ็กซ์ไปแล้ว คอลเล็กชั่นนี้จึงถือเป็นความสำเร็จของเรา อย่างที่ทั้งสองแบรนด์มีกลุ่มผู้ติดตามที่แข็งแกร่ง” การพัฒนาใหม่ล่าสุดจากการร่วมมือนี้คือชุดเดรสผ้าทูลที่มีการผสมผสานของสีน้ำเงินกรมท่า และสีทองโดยได้รับแรงบันดาลใจจากธงยูเครน ส่วนที่ดีที่สุดคือเจ้าของชุด ‘Intergalactic Freedom Dress’ จะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าถึงเสื้อผ้าบนแอปพลิเคชั่นของเดรสเอ็กซ์อีกด้วย

ข้อมูล : Vogue Singapore
เรียบเรียง : Ramita Naungtongnim

WATCH