SKINCARE

ชี้ความแตกต่างระหว่างกันแดด Physical Sunscreen และ Chemical Sunscreen

รู้หรือไม่ว่ากันแดดแบบ Physical Sunscreen และ Chemical Sunscreen มีความแตกต่างกันอย่างไร แบบไหนถึงเหมาะกับสภาพผิวของเรา

     ‘ครีมกันแดด’ เป็นสกินแคร์ที่เราใช้เป็นประจำทุกวัน โดยมีความสำคัญอันดับต้นๆ ไม่ต่างจากสกินแคร์ชิ้นอื่นที่เราใช้ เพราะจะช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีของแสงแดด ซึ่งเป็นตัวการหลักที่ทำให้เกิดปัญหาผิวตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจุดด่างดำ, ริ้วรอย และโรคผิวหนังต่างๆ ฉะนั้นการเลือกส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรเอาใจใส่และเลือกให้เหมาะกับความต้องการของผิว โดยประเภทของครีมกันแดดจะมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ในท้องตลาด ได้แก่ Physical Sunscreen และ Chemical Sunscreen ไปดูกันว่าความแตกต่างของครีมกันแดดเหล่านี้ มีอะไรบ้าง

 

Physical Suncreen

     หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า Mineral Sunscreen มีส่วนผสมหลักๆ เพียง 2 อย่าง คือ Zinc Oxide และ Titanium Dioxide ซึ่งเป็นส่วนผสมที่ได้รับการยอมรับความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพจาก FDA ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสี UV โดยการสะท้อนรังสี UVA และ UVB ให้กระจายออกจากผิวหน้า ทำให้ไม่มีสารตกค้าง เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่ายและผิวบอบบาง จึงเป็นกลุ่มของสารกันแดดที่แพทย์ผิวหนังแนะนำให้หันมาใช้กันมากขึ้น เพราะโดดเด่นให้เรื่องความปลอดภัยของผิวหน้า นอกจากนี้ยังไร้ส่วนผสมของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อประการังและสัตว์ใต้ทะเลอีกด้วย

 

ข้อดี

  • ป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB และให้การป้องกันแสงแดดที่ยาวนานกว่า
  • โอกาสแพ้และอุดตันน้อยกว่า จึงเหมาะสำหรับผิวแพ้ง่ายและผิวบอบบาง 
  • ไม่มีสารที่ทำลายสิ่งแวดล้อมทางทะเล ไม่ทำให้ปะการังฟอกขาว
  • ทาแล้วออกแดดได้ทันที โดยไม่ต้องรอทาก่อนออกแดด 20 นาที

 

ข้อเสีย

  • เนื้อค่อนข้างหนา มีความเหนียวเหนอะหนะ เกลี่ยยาก จึงอาจทำให้หน้าวอกหรือเกิดคราบขาวได้
  • ไม่ติดทน หลุดออกง่าย เมื่อเจอน้ำหรือเหงื่อ

 

Complete No-Stress Physical Sunscreen จาก AXIS-Y (ราคา 890 บาท)

Physical White Extra Fluid SPF50+ PA+++ จาก Smooth E (ราคา 590 บาท) 

 

Chemical Sunscreen

     คุณสมบัติหลักคือช่วยดูดซับรังสี UV แล้วเปลี่ยนเป็นความร้อน โดยความร้อนที่ปล่อยออกมานี้ไม่เป็นอันตรายกับผิวหน้าของเรา ทำให้รังสียูวีบางส่วนจากแสงแดดไม่กระทบผิวหนัง โดยสามารถปกป้องผิวจากรังสี UVB ได้ทุกตัว แต่การปกป้องจากรังสี UVA-I, UVA-II จะขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่ใส่มาในครีมกันแดดแต่ละตัว ด้วยความที่มีส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิด จึงอาจไม่เหมาะสำหรับคนที่มีผิวแพ้ง่ายและผิวบอบบาง เพราะสารบางชนิดมีส่วนผสมของ UV Filter ที่เป็นเคมีทำให้มีโอกาสระคายเคืองและอุดตันได้มากกว่าแบบ Physical

 

ตัวอย่างส่วนผสมที่ใช้ในครีมกันแดดแบบ Chemical 

- Octocrylen

- Butyl Methoxydibenzoylmethane (Avobenzone) 

- Disodium Phenyl Dibenzimidazole Tetrasulfonate 

- Methyl Anthranilate

- Terephthalylidene Dicamphor Sulfonic Acid

- Benzophenone-3 (Oxybenzone)

- Benzophenone-4 (Sulisobenzone)

- Bis-Ethylhexyloxyphenol Methoxyphenyl Triazine (Tinosorb S)

- Methylene Bis-Benzotriazolyl Tetramethylbutylphenol (Tinosorb M/Bisoctrizole)

- 4-Methylbenzylidene Camphor (Enzacamene)

- Homomenthyl Salicylate (Homosalate / HMS)

 

ข้อดี

  • เนื้อครีมบางเบา ไม่มีสี ไม่หนักผิว ทาแล้วหน้าไม่ขาววอก
  • เหมาะสำหรับการว่ายน้ำหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งที่เสียเหงื่อเยอะ เพราะสามารถกันน้ำกันเหงื่อได้มากกว่า
  • ราคาย่อมเยา หาซื้อได้ง่าย

 

ข้อเสีย

  • มีโอกาสการระคายเคืองและอุดตันมากกว่า 
  • อาจต้องทาซ้ำบ่อยๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง และรออย่างน้อย 20 นาทีก่อนออกแดด ถึงจะมีประสิทธิภาพกันแดดได้
  • มีสารบางชนิดที่อาจทำลายสิ่งแวดล้อมทางทะเล ทำให้ทำลายแนวปะการังหรือสัตว์ในน้ำได้

 



WATCH



PLAY Everyday Lotion SPF 50 PA++++ จาก SUPERGOOP! (ราคา 1,420 บาท)

Relief Sun Rice Probiotics SPF50+ PA++++ จาก Beauty of Joseon (ราคา 950 บาท)

ภาพ : www.freepik.com, Courtesy of brands

WATCH