SKINCARE
แชร์เคล็ดลับการอ่านส่วนผสมในสกินแคร์ พร้อมทิปส์การเลือกเครื่องสำอางที่ไม่ทำร้ายผิวโว้กบิวตี้รวมทิปส์และวิธีการอ่านส่วนผสมบนเมกอัพและสกินแคร์ |
Photo: @projectskin_
นอกจากควรเลือกสกินแคร์ที่เหมาะกับสภาพผิวแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราควรคำนึงเมื่อเลือกซื้อสกินแคร์ก็คือส่วนผสมในสกินแคร์หรือเครื่องสำอางนั้นๆ โดยไม่ควรตัดสินจากคำเคลมที่อยู่ด้านหน้าของผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียวแต่ควรพลิกดูส่วนผสมที่ลิสต์อยู่ด้านหลังด้วย ซึ่งทีมบิวตี้เข้าใจดีว่าลิสต์ส่วนผสมของสกินแคร์อาจจะเป็นโซนที่ทำให้หลายๆ คนมึนงงเนื่องจากบางผลิตภัณฑ์มีทั้งชื่อที่อ่านออกเสียงยากและคำศัพท์วิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่ยากจะจดจำและเข้าใจ วันนี้ทีมบิวตี้จึงขอแชร์ทิปส์การอ่านส่วนผสมในสกินแคร์และเครื่องสำอางมาฝาก ว่าแล้วเรามาทำความเข้าใจในการอ่านส่วนผสมในสกินแคร์กัน
- ระดับความเข้มข้นของส่วนผสมในสกินแคร์จะถูกลิสต์ไล่จากบนลงล่าง
หากกำลังมองหาส่วนผสมที่ช่วยฟื้นฟูตามแต่ละปัญหาผิว อย่างเช่นผิวขาดน้ำมักจะมองหากรดไฮยาลูรอนิกหรือผิวมีจุดด่างดำมักจะมองหาส่วนผสมของวิตามินซี เมื่อเราไปถึงเคาน์เตอร์เพื่อที่จะเลือกซื้อสกินแคร์ แนะนำให้พลิกดูที่ส่วนผสมบนแพ็คเกจจิ้ง หากส่วนผสมที่เราตามหาระบุอยู่ในบรรทัดแรกๆ ของส่วนผสมในสกินแคร์นั้นๆ นั่นหมายถึงผิวของเราจะได้รับการฟื้นบำรุงจากส่วนผสมนั้นแบบเน้นๆ แต่ถ้ามองหาส่วนผสมที่ช่วยฟื้นฟูผิวแล้วไปเจออยู่ด้านล่างของส่วนผสมหรือบริเวณบรรทัดเกือบสุดท้าย นั่นหมายถึงผิวเราจะได้รับการฟื้นบำรุงจากส่วนผสมนั้นในปริมาณน้อยหรือไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ตัวอย่าง: เซรั่ม C-Firma™ Day Serum จาก Drunk Elephant ที่มีส่วนผสมของ Ascorbic Acid หนึ่งใน Active Ingredient หรือสารออกฤทธิ์ของวิตามินซีสังเคราะห์ที่ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนที่จะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและลดเลือนจุดด่างดำ ถ้าพบส่วนผสมเหล่านี้อยู่ใน 5 อันดับแรกของส่วนผสมทั้งหมดในสกินแคร์ นั่นก็หมายถึงสกินแคร์นั้นๆ มีเปอร์เซ็นต์ของวิตามินซีประเภทดังกล่าวอยู่ในปริมาณสูง
ดูโพสต์นี้บน Instagramdiva on a budget tip: make your in-flight carry-on kit this premium ????????♀️
อย่างไรก็ตามถ้าไม่มีส่วนผสมช่วยฟื้นฟูผิวในใจแต่ต้องการสกินแคร์ที่ปลอดภัยต่อผิว แนะนำว่าให้สังเกตุง่ายๆ จากส่วนผสมที่อาจก่อการระคายเคืองอย่างน้ำหอมหรือแอลกอฮอล์ หากพบส่วนผสมเหล่านี้อยู่ใน 3 ส่วนผสมแรกของสกินแคร์นั้นๆ ก็เป็นสัญญาณเตือนเบาๆ ว่าใช้ได้แต่อาจไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับผิวของเรานั่นเอง
ส่วนผสมในสกินแคร์ที่ควรหลีกเลี่ยง
- พาราเบน
พาราเบนหรือสารกันเสีย มักจะมาในชื่อของ Methylparabens, Propylparabens และ Butylparabens เป็นส่วนผสมที่ใช้คงประสิทธิภาพของส่วนผสมและยืดอายุการใช้งานในเครื่องสำอาง ถึงแม้พาราเบนจะปลอดภัยและใช้กับผิวได้ แต่ผู้เชื่ยวชาญด้านผิวหนังแนะนำว่าถ้าเลี่ยงได้ควรเลี่ยง
- ซัลเฟต
ใครล้างหน้าแล้วรู้สึกผิวตึงเป็นไปได้ว่าโฟมล้างหน้าที่ใช้มีส่วนผสมของสารกลุ่มซัลเฟตในปริมาณที่สูง ซึ่งจากกลุ่มของสารซัลเฟต ส่วนผสมของ Sodium Lauryl Sulfate (SLS) และ Sodium Laureth Sulfate (SLES) เป็นชื่อที่สาวๆ ควรระวังเมื่อเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวทั้งสำหรับผิวหน้าและผิวกาย ซัลเฟตมีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดฟองและดึงดูดคราบน้ำมันจึงช่วยชะล้างสิ่งสกปรกได้ดี แต่สิ่งที่ทำให้เราต้องโบกมือลาโฟมล้างหน้าที่ฟองเยอะจากส่วนผสมของซัลเฟตก็คือการขโมยความชุ่มชื่นไปจากผิวของเรา หนึ่งสาเหตุของผิวแห้งตึงและระคายเคืองได้ง่าย
- น้ำหอมสังเคราะห์
สำหรับคนผิวบอบบางแพ้ง่าย (และจริงๆ สำหรับทุกสภาพผิว) น้ำหอมสังเคราะห์เป็นอีกหนึ่งส่วนผสมที่ควรเลี่ยงในสกินแคร์ เนื่องจากเป็นน้ำหอมที่ผลิตจากสารเคมีที่อาจส่งผลกระทบต่อผิวอย่างเช่นก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือผื่นแพ้ได้
WATCH
นอกจากส่วนผสมแล้ว ควรสังเกตุวันผลิตและวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์ด้วย โดยดูได้จากสัญลักษณ์รูปกระปุกผลิตภัณฑ์ไซส์จิ๋วที่ถูกเปิดออก ที่มาพร้อมตัวเลขและตัวอักษร M ซึ่งย่อมาจาก Month อย่างเช่น 12M (1 ปี) หรือ 24M (2 ปี) เป็นต้น ซึ่งฝาจิ๋วที่ถูกเปิดออกเล็กน้อยหมายถึง เครื่องสำอางชิ้นนั้นมีอายุไขตามเวลาที่ระบุ ‘หลังถูกเปิดใช้งาน’ แล้ว
WATCH