HAIR
สาเหตุผมร่วงในวัยรุ่นเกิดจากอะไรได้บ้าง?เป็นวัยรุ่น เส้นผมก็ร่วงได้ แต่ถ้ารู้ไว ก็แก้ได้ไว! |
วัยรุ่นเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่แค่ร่างกายและอารมณ์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเส้นผมด้วย หลายคนอาจประสบปัญหาผมร่วงในช่วงวัยนี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความกังวลใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมั่นใจ หรือแม้แต่ความกังวลว่าจะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพร้ายแรง แต่ก่อนที่จะตื่นตระหนกกับเส้นผมที่ร่วง มาทำความเข้าใจถึงสาเหตุของผมร่วงในวัยรุ่นกันก่อน เพราะมันไม่ได้มีสาเหตุเดียวเสมอไป บางครั้งอาจเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย แต่บางครั้งก็อาจเป็นสัญญาณเตือนที่เราไม่ควรมองข้าม
ภาพถ่ายโดย Polina Tankilevitch จาก Pexels: https://www.pexels.com/th-th/photo/6988530/
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงวัยรุ่นมีผลทำให้ผมร่วงได้ เนื่องจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนไทรอยด์ และฮอร์โมนอื่นๆ สามารถทำให้เกิดความเครียด ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพเส้นผมและทำให้ผมร่วงได้ ไม่เพียงเท่านั้นยังส่งผลให้เกิดสิวและปัญหาผิวหนังอื่นๆ อีกด้วย
ภาพถ่ายโดย Angela Roma จาก Pexels: https://www.pexels.com/th-th/photo/7363756/
การขาดสารอาหาร
วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต การทานอาหารที่ไม่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการอาจทำให้ขาดสารอาหาร เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินบี และไบโอติน และเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผมร่วงในวัยรุ่น เพราะร่างกายต้องการสารอาหารหลากหลายชนิดเพื่อสร้างและบำรุงเส้นผม หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลต่อสุขภาพเส้นผม ทำให้ผมเปราะบาง แห้งเสีย และผมร่วงได้
WATCH
ภาพถ่ายโดย SHVETS production จาก Pexels: https://www.pexels.com/th-th/photo/9774263/
ความเครียดที่มากเกินไป
ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดผมร่วงในวัยรุ่นได้ ไม่ว่าจะเป็นภาระจากการเรียน ปัญหาส่วนตัว ปัญหาครอบครัว ความสัมพันธ์ทางสังคม หรือแรงกดดันจากเพื่อนวัยเดียวกัน ล้วนสามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดและอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ ซึ่งมีผลทำให้วงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมผิดปกติได้
ภาพถ่ายโดย Yan Krukau จาก Pexels: https://www.pexels.com/th-th/photo/7312358/
การจัดแต่งทรงผมบ่อยๆ
เป็นปกติที่วัยรุ่นต้องตามเทรนด์ โดยเฉพาะทรงผมสวยๆ สไตล์ต่างๆ ที่ต้องอาศัยการเซ็ตและจัดทรง ซึ่งต้องเจอทั้งความร้อนจากอุปกรณ์จัดแต่งทรงผม เช่น ไดร์ หรือที่ม้วนผม รวมไปถึงสารเคมีจากสเปรย์ มูส หรือแว็กซ์ แน่นอนว่าถ้าต้องจัดแต่งทรงผมบ่อยๆ โดยไม่มีการปกป้องเส้นผมจากความร้อน หรือทำความสะอาดได้ไม่ดีพอก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วงได้
ภาพถ่ายโดย Yaroslav Shuraev จาก Pexels: https://www.pexels.com/th-th/photo/6810854/
การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
การลดน้ำหนักแบบฉับพลันโดยการควบคุมอาหารอย่างเข้มงวดหรืออดอาหารอาจส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหาร เช่น โปรตีน เหล็ก สังกะสี และวิตามินต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม ซึ่งนั่นจะทำให้เกิดภาวะ Telogen effluvium คือ เส้นผมเข้าสู่ระยะหยุดเติบโตและหลุดร่วงได้มากกว่าปกติ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นหลังจากการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 เดือน
ภาพถ่ายโดย Nadezhda Diskant จาก Pexels: https://www.pexels.com/th-th/photo/5878807/
ผมร่วงจากการดึงรั้ง
การรวบหางม้าตึงๆ การถักเปียแน่นๆ หรือการมัดจุกที่วัยรุ่นชอบทำกัน แน่นอนว่าเป็นทรงผมสวยมีสไตล์ แต่ก็มาพร้อมกับการดึงรั้งเส้นผมเป็นเวลานานๆ จนทำให้รากผมเกิดความเสียหาย และเส้นผมหลุดร่วงในที่สุด ทางที่ควรหลีกเลี่ยงการทำทรงผมที่ดึงรั้งมากเกินไป และปล่อยเส้นผมให้เป็นอิสระเพื่อให้รากผมได้พักบ้าง
ภาพถ่ายโดย KoolShooters จาก Pexels: https://www.pexels.com/th-th/photo/7325571/
พันธุกรรม
หากครอบครัวมีประวัติผมบางหรือผมร่วงในช่วงวัยรุ่นก็อาจต้องทำใจว่านั่นสามารถถ่ายทอดส่งต่อทางพันธุกรรมได้ และถึงแม้จะไม่สามารถยับยั้งผมร่วงจากสาเหตุนี้ได้ แต่ก็สามารถชะลอหรือบรรเทาความรุนแรงได้ด้วยการดูแลบำรุงเส้นผมอย่างเหมาะสม
แม้ว่าผมร่วงจะเป็นปัญหาที่ทำให้น่ากังวลใจ แต่ในหลายกรณีโดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นมักเป็นอาการเพียงชั่วคราว และเป็นสาเหตุที่สามารถแก้ไขได้ เพราะฉะนั้นหากรู้จักดูแลสุขภาพโดยรวม ทั้งการรับประทานอาหารที่ดี การจัดการความเครียด และใส่ใจดูแลเส้นผมให้ถูกวิธี อาการผมร่วงก็จะค่อยๆ ลดลงและงอกใหม่กลับมาสุขภาพดีอีกครั้ง
WATCH