BODY

'ดอกเล็บ' เกิดจากอะไร จุดสีขาวบนเล็บที่คุณไม่ควรมองข้าม

หนึ่งในอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเล็บที่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคได้

     หนึ่งในอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเล็บ ซึ่งเกิดบริเวณที่เนื้อเยื่อใต้เล็บ มีลักษณะของจุดขาวขุ่น ขนาดเล็กบนเล็บ โดยจุดขาวที่เกิดขึ้นนั้นก็มีตั้งแต่จุดขาวขนาดเล็กเพียงไม่กี่จุดที่ปรากฏบนเล็บหรือจุดขาวที่มีลักษณะเป็นการกระจายตัวปริมาณมากบนเล็บ จึงเป็นที่มาของชื่อ ‘ดอกเล็บ’ หรือชื่อทางการที่เรียกว่า ‘ริวโคนีเซียร์’ ( lukonychia) นอกจากนี้ยังสามารถมีลักษณะเป็นเหมือนรอยขีดข่วนบนเล็บได้อีกด้วย คนส่วนใหญ่เชื่อว่าดอกเล็บเกิดจากการขาดสารอาหารหรือร่างกายได้รับวิตามินบางชนิดไม่ครบถ้วน เช่น สังกะสีหรือแคลเซียม แต่สาเหตุนี้มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับสาเหตุอื่นๆ ตามมาดูกันสาเหตุเหล่านั้นมีอะไรบ้าง

 

 

สาเหตุของการเกิดดอกเล็บ

  • พฤติกรรมภายนอกต่างๆ ที่ทำกับเล็บ

     ดอกเล็บอาจเกิดจากอุบัติเหตุเล็กๆ เช่น ถูกของหนักกดทับ ประตูหนีบ หรือ การทำเล็บที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เพราะจะทำให้ฐานเล็บเสียได้ หรือแม้แต่การกัดเล็บเป็นประจำก็มีส่วนทำให้เกิดอาการขึ้นมาได้

  • การติดเชื้อรา

     โรคติดเชื้อราที่เล็บเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ ได้แก่ เชื้อราในกลุ่ม กลุ่ม Dermatophyte หรือ Trichophyton Interdigitale ซึ่งเป็นชนิดที่เกิดกับแผ่นเล็บด้านบน เมื่อเชื้อราเจริญเติบโตขึ้นจะสามารถสังเกตเห็นจุดขนาดเล็กหลายจุดบนเล็บ รวมถึงอาจขยายไปยังฐานเล็บได้

  • แพ้ยาหรือสารเคมีต่างๆ

     ดอกเล็บอาจเป็นอาการที่เกิดจากเล็บตอบสนองไวมากเกินปกติต่อสารบางชนิดในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเล็บประเภทต่างๆ เช่น ยาทาเล็บ น้ำยาเคลือบเล็บ น้ำยาล้างเล็บ เป็นต้น รวมถึงการใช้ยาหรือเคมีบำบัดบางชนิด การได้รับสารพิษหรือโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว สารหนู หรือเป็นผลที่เกิดจากโรคต่างๆ เช่น โรคปอด โรคหัวใจวาย หรือ โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น

  • ขาดวิตามินบางชนิด

     ดอกเล็บอาจเกิดจากการที่ร่างกายขนาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี หรือแคลเซียม สาเหตุนี้มีความเป็นไปได้แต่เป็นเพียงสาเหตุส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับสาเหตุอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ทางที่ดีควรรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์หรือเน้นรับประทานอาหารที่มีปริมาณวิตามินแร่ธาตุที่กล่าวมาข้างต้นอย่างเป็นประจำ

 

 

วิธีป้องกันการเกิดดอกเล็บ

  • เลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น แคลเซียม สังกะสี และธาตุเหล็ก เป็นต้น 
  • งดการทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับเล็บ ทั้งการกัดเล็บหรือ การทำเล็บที่ไม่ถูกสุขลักษณะ 
  • ถ้ามีการติดเชื้อรา ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับยาฆ่าเชื้อทั้งรูปแบบการกินหรือการทา
  • หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดการแพ้ ทั้งการรับประทานยาและ ใช้สารเคมีต่างๆ
  • ดูแลความสะอาดของมือและเล็บอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้เปียกชื้น ควรเช็ดมือให้แห้งสนิท และไม่ควรไว้เล็บยาวจนเกินไป เพื่อลดการสะสมเชื้อโรคต่างๆ ในเล็บได้

 



WATCH



WATCH