FASHION

ตามแกะรอย 'เฟมินิสต์' เบื้องหลังปรัชญาบนเสื้อผ้าของ Dior คอลเล็กชั่น Fall/Winter ปี 2020

     คงไม่ผิดหากเราจะใช้คำว่า “Iconic” (ที่นับเป็นอีกหนึ่งคำสำคัญในโลกแฟชั่น) กับผลงานของแบรนด์ Dior ในตำนานอย่าง เสื้อแจ็กเก็ตบาร์ มรดกผลงานชิ้นสำคัญโดยการสร้างสรรค์ของดีไซเนอร์ในตำนานของห้องเสื้อดังกล่าว Christian Dior ที่ในคอลเล็กชั่นประจำฤดูกาลใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ปี 2020 ครั้งล่าสุด Maria Grazia Chiuri ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์หญิงคนแรก ยังได้เนรมิตเสื้อแจ็กเก็ตบาร์แบบใหม่ ซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อนให้เราได้เห็๋นกัน ด้วยการตัดเย็บผ้าขนสัตว์ถักนิตติ้งเพิ่มรายละเอียดไหล่โค้งเล็กน้อยเพื่อทำให้มิติของแฟชั่น และงานศิลปะใกล้ชิดกันมากกว่าเดิม ดังที่เราทุกคนคงได้เห็นพาเหรดเหล่านางแบบบนรันเวย์เมื่อช่วงปารีสแฟชั่นวีกที่ผ่านมา ที่ครั้งนี้เราจะพาไปแกะรอยกันทีละองค์ประกอบว่า คอลเล็กชั่นนี้น่าสนใจมากแค่ไหน...

     สำหรับคอลเล็กชั่นประจำฤดูกาลใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ปี 2020 มาเรีย กราเซีย คิอูริ ได้กล่าวเอาไว้ว่า “คอลเล็กชั่นนี้ไม่ต่างจากไดอารี่ภาพ”  โดยเธอได้กล่าวต่อไปอีกว่า มันคือหนังสือภาพที่ถูกเปิดให้เห็นทีละหน้าๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นชิวิตของเธอเมื่ครั้งที่ได้มาอยู่ที่กรุงปารีส และทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมฝรั่งเศสมากขึ้น อีกทั้งกับแฟชั่นเฮาส์ดิออร์แห่งนี้ มันช่วยทำให้ฉันเข้าใจถึงอดีตที่ผ่านมาของฉันไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง” แม้ว่าดิออร์จะถูกฝังลงไปบนหน้าหนังสือประวัติศาสตร์ ตลอดจนภาพลักษณ์ของ The New Look อันบันลือโลกที่ได้แจ้งเกิดนักออกแบบในปี 1947 แต่ในครั้งนี้มาเรียกลับเพ่งเล็งไปถึงจุดที่หลายคนอาจลืมเลือน ด้วยการมุ่งเน้นไปที่อีกหนึ่งดีไซเนอร์คนสำคัญ  ที่เคยร่วมสร้างประวัติศาสตร์ของดิออร์มามากกว่า 3 ทศวรรษอย่าง Marc Bohan จากปี 1961 ถึง 1989

     “หากได้ย้อนกลับไปในยุคที่ Marc Bohan ในขณะที่เขากำลังดำรงตำแหน่งเป็นผู้คุมบังเหียนที่ดิออร์ เขาก็นับเป็นคือหนึ่งในบุคคลสำคัญที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับดิออร์ไว้มากมาย ทั้งการนำเสนอกางเกง และกระโปรงรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคนิคการตัดเฉลียง ไปจนถึงการเลือกใช้ซิลูเอตแบบ H-line และ A-line ในยุค 1970 ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นฝีมือของ Marc Bohan เพื่อช่วยให้เหล่าสุภาพสตรีใช้แฟชั่นในการนิยามตัวเองได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งฉันจำได้ดีจากประสบการณ์ส่วนตัวของฉันที่เติบโตขึ้นมาในเวลานั้น เพราะผลงานของเชายังเป็นแรงบันดาลใจให้ฉันชอบไปเดินเที่ยวที่ตลาดนัด เพื่อค้นหากางเกงยีนส์ และแจ็กเก็ตทหาร มาเป็นของตัวเอง” มาเรียกล่าว

     ในฐานะนักออกแบบคนหนึ่ง มาเรียยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า "ในคอลเล็กชั่นนี้เธอต้องการสร้างตู้เสื้อผ้า เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่ให้กับผู้หญิง เพื่อให้พวกเธอสามารถผสมผสาน และสามารถสร้างสรรค์สไตล์เฉพาะตัวขึ้นมาได้ด้วยตัวของพวกเธอเอง" ดังนั้นเราจึงได้เห็นตู้เสื้อผ้าอเนกประสงค์ของดิออร์ ที่ประกอบด้วยเสื้อคลุม กระโปรง และชุดกระโปรงที่มาพร้อมกับลายเซ็ก ที่ราวกับหลุดออกมาจากหนังสือ Mr Dior’s The Little Dictionary of Fashion หนังสือเล่มสำคัญอีกหนึ่งเล่มที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงปี 1954 ทั้งไอเท็มกระโปรงจีบตัดเย็บจากผ้าฝ้ายมัดย้อม, การเย็บประดับลูกปัดขนาดเล็กนับร้อยๆ ลงบนชุดผืนผ้าตาข่าย ไปจนถึงซิลูเอตชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการแต่งกายของเหล่าเทพธิดาในปกรณัม และการเลือกใช้ผ้าไหมสีฟ้า และผ้าชีฟองที่มีความโดดเด่นสะดุดตา ทั้งนี้ก็เพื่ออุทิศให้กับ Faye Dunaway นักแสดงชาวอเมริกันแห่งยุค 1970 อีกหนึ่งคน ในขณะเดียวกันก็ยังนำเสนอการตัดเย็บแบบที่พร่าเลือนพรมแดนของเพศมากขึ้น ที่มีทั้งไอเท็มเสื้อเชิ้ต และเน็คไท ที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก Diane Keaton หลุดออกมาโลดแล่นอยู่บนรันเวย์ครั้งนี้ด้วยเช่นกัน จนกลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัว



WATCH




     นอกจากเหล่าเสื้อผ้าสวยสะกด ในส่วนของฉากหลังที่เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญในโชว์ครั้งนี้ คอลเล็กชั่นฤดูกาลใบไม้ร่วงปีล่าสุด มาเรียยังมีโอกาสได้ร่วมงานกับ Claire Fontaine ศิลปินเฟมินิสต์ชื่อดังจากกรุงปารีส ที่ได้สรรสร้างฉากหลังโดยหยิบยกเอาวลีของ Lonzi ศิลปินเฟมินิสต์คนสำคัญอีกคนหนึ่งมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นประโยคอันทรงพลังว่า 'I Say I' ที่มาจากภาษาอิตาเลียน “Io dico io”  'Patriarch = Climate Emergency' และ ‘Women’s Love Is Unpaid Labour’ ที่ถูกประดับด้วยแสงนีออนและแขวนลงมาจากเพดาน ณ สถานที่จัดแสดโชว์ครั้งล่าสุดอย่าง Jardins des Tuileries ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

บรรดาแขกฟรอนต์โรว์คนสำคัญ พร้อมด้วย Maria Grazia Chiuri ในโชว์คอลเล็กชั่นฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ประจำปี 2020

 

     ทว่าความหนักแน่นของปรัชญาสตรีนิยมยังไม่จบลงเท่านั้น เมื่อในขณะเดียวกัน Palma Bucarelli Palma Bucarelli นักประวัติศาสตร์ศิลป์ชาวอิตาลี ผู้ดูแล และผู้ดูแลระบบซึ่งส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ Galleria Nazionale d'Arte Moderna ในกรุงโรมตั้งแต่ปี 1942 ถึงปี 1975 ยังเป็นอีกหนึ่งสุภาพสตรีที่ได้รับการคัดเลือกให้กลายเป็นมิวส์ประจำฤดูกาลนี้ โดยมาเรียให้ข้อมูลว่าที่เธอสนใจสุภาพสตรีคนนี้ก็เพราะว่า “ในเวลานั้นมันแปลกมากสำหรับผู้หญิง ที่จะทำงานประเภทนี้ ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นว่า เธอแสดงออกทางตัวตน และหยัดยืนได้อย่างกล้าหาญ อีกทั้งการแต่งกายของเธอก็น่าสนใจ ที่เรายังมีภาพของเธอ กับความรักในการแต่งตัวในกรุงปารีส หรือแม้แต่ในชุดของแบรนด์ดิออร์ แต่ในขณะเดียวกันเธอก็ยังนิยมชมชอบในการใส่กางเกงหนัง ที่ทำให้เธอแตกต่าง และดูเป็นอิสระจริงอย่างที่เธอต้องการ”...

WATCH

คีย์เวิร์ด: #DiorFW2020