FASHION

ที่สุดของความภาคภูมิใจ เมื่อ 2 ศิลปินชาวไทยสร้างประวัติศาสตร์จัดแสดงงานศิลปะร่วมกับ Dior

เนื้อหาสำคัญ

  • เปิดประวัติและที่มาผลงานของ 2 ศิลปินชาวไทยร่วมสร้างประวัติศาสตร์จัดแสดงงานศิลปะกับ Dior
  • ผลงานเพิ่มเติมของศิลปินภายในงานนิทรรศการครั้งนี้

 ___________________________________

     เมื่อพูดถึงงานศิลปะด้านแฟชั่นระดับสูงชื่อของ Dior จะโผล่ขึ้นมาเป็นชื่อแรก ๆ อย่างแน่นอน ด้วยความอมตะของตัวแบรนด์ และผลงานที่รังสรรค์กันมาตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สไตล์และคุณภาพชิ้นงานของดิออร์นั้นถูกถ่ายทอดผ่านไอเท็มชิ้นต่าง ๆ มามากกว่า 70 ปี ล่าสุดงานจัดแสดงนิทรรศการ 'LADY DIOR AS SEEN BY' ครั้งแรกในประเทศไทยได้นำกระเป๋ารุ่นนางเอกของแบรนด์อย่าง Lady Dior ที่ถือกำเนิดขึ้นในปี 1995 ที่นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมาความสง่างามที่รังสรรค์ผ่านวัสดุอันหลากหลายและสไตล์งานกูตูร์แบบเลดี้ ดิออร์คือเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครมาตลอด 20 กว่าปี คอนเซปต์งานนิทรรศการคือการนำเสนอแรงบันดาลใจและมุมมองที่หลากหลายต่อเลดี้ ดิออร์ของแต่ละคนผ่านผลงานประติมากรรมกระเป๋าในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยไอเดียความสร้างสรรค์และสิ่งแวดล้อมของศิลปิน รวมถึงศิลปะภาพถ่ายที่นำเสนอภาพพร้อมเรื่องราวโดยการใช้กระเป๋ารุ่นอมตะนี้เป็นสื่อถ่ายทอดอย่างลึกซึ้ง  แต่ครั้งนี้พิเศษเพราะมีผลงานฝีมือคนไทยมาร่วมโชว์ในงานจัดแสดงศิลปะระดับโลกถึง 2 ชิ้นจากศิลปิน 2 คนด้วยกัน

 

1.คุณรัตนา สาลี (Rattana Salee)

     เมื่อกระเป๋าเลดี้ ดิออร์มีความเพอร์เฟกต์ในตัวอยู่แล้วนี่คือโจทย์สุดหินของเหล่าผู้รังสรรค์ผลงานว่าจะทำอย่างไรให้สุดยอดกระเป๋าของแบรนด์จากฝรั่งเศสนี้มีความพิเศษด้วยเรื่องราวและชิ้นงานในรูปแบบของตัวเอง รัตนา สาลี ศิลปินดีกรีปริญญาโทด้านวิจิตรศิลป์ ผู้มีโอกาสจัดแสดงนิทรรศการศิลปะทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่มในประเทศไทยและต่างประเทศตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา เธอได้เนรมิตผลงาน "Elegance" ถ่ายทอดในคอนเซปต์ Modern City, Modern Life เพื่อนำเสนอคอนเซปต์สะท้อนถึงกรุงเทพฯ สถานที่จัดงานครั้งนี้

กระเป๋าผลงาน Elegance ที่สร้างจากสแตนเลสของคุณรัตนา 

     "เป็นสิ่งที่ไม่คาดฝันที่ได้ร่วมงานกับดิออร์" รัตนา สาลีกล่าวถึงความรู้สึกที่ได้มีส่วนร่วมในงานครั้งนี้โดยใช้งานศิลปะในแบบที่ตัวเองถนัด ซึ่งผลงาน "Elegance" คือตัวแทนความทันสมัยของกรุงเทพฯ เธอจึงรังสรรค์งานชิ้นนี้เป็นรูปแบบ openwork หรืองานโครงสร้างโปร่งเพื่อใส่ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ และด้วยแนวคิดของรัตนาว่า "เข้าใจในการสร้างสรรค์ศิลปะของดิออร์เพราะสภาพแวดล้อมแบบศิลปะในปารีส มันทำให้เห็นว่าจริง ๆ แล้วแฟชั่นกับศิลปะมันอยู่ในตัวและเชื่อมโยงกันอยู่เสมอ" ศิลปินไทยผู้นี้ยังวางคอนเซปต์แรงบันดาลใจที่ได้จาก Alberto Giacometti ในเรื่องเท็กซ์เจอร์และนำองค์ประกอบที่เธอชอบกระเป๋าเลดี้ ดิออร์อย่างคานนาจมาใช้หลอมรวมกลายเป็นผลงานสุดพิเศษชิ้นนี้ ถือเป็นงานมาสเตอร์พีซอีกชิ้นหนึ่ง เพราะความท้าทายในงานประติมากรรมขนาดเล็กและใช้วัสดุโลหะแสดงถึงความทันสมัย เป็นประสบการณ์ใหม่ที่ส่งเสริมให้รัตนา สาลีก้าวออกจากกรอบผลงานที่เคยทำและเป็นการสร้างผลงานชิ้นไฮไลต์ให้กับนิทรรศการครั้งนี้

 

2.คุณกรกฤช เจียรพินิจนันท์ (Kornkrit Jianpinidnan)



WATCH




     นอกจากผลงานประติมากรรมของรัตนา สาลีแล้ว ยังมีผลงานภาพถ่ายที่ร้อยเรียงเรื่องด้วยกระเป๋าเลดี้ ดิออร์ได้อย่างน่าสนใจ กรกฤช เจียรพินิจนันท์ ศิลปินและช่างภาพชาวกรุงเทพฯ เชี่ยวชาญเรื่องการสร้างผลงานการถ่ายภาพด้วยประสบการณ์และการสัมผัสอยู่ในสถานที่นั้น ๆ เพื่อสร้างชิ้นงานที่ผูกโยงประสบการณ์และความทรงจำ ถ่ายทอดผ่านเทคนิคการถ่ายภาพ วัสดุ การพิมพ์ และอีกหลาย ๆ องค์ประกอบจนกลายเป็นเอกลักษณ์และความพิเศษของศิลปินผู้นี้ จนในครั้งนี้ได้มีโอกาสถ่ายทอดศิลปะแขนงของตัวเองในแบบ "นิราศ" ชื่อ POEM 12:THINKING OF D.

ผลงาน POEM 12:THINKING OF D. ในทิรรศการครั้งนี้ของคุณกรกฤช

     "นิราศ" ผลงานการร้อยเรียงเรื่องราวกว่า 144 ภาพจากกล้องฟิล์ม สะท้อนถึงความประทับใจในการเดินทาง บันทึกเป็นลำดับเหตุการณ์จริงที่ได้ประสบตามคำพูดของคุณกรกฤชว่า "ปรัชญาในการสร้างงานของผมคือความอิสระและความจริงที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวัน" ฉะนั้น "นิราศคือศิลปะดั้งเดิมที่ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบและการเรียกไป แต่ในความเป็นจริงปัจจุบันการเล่าเรื่องราวก็คือผลผลิตทางวัฒนธรรมจากนิราศ" ภาพทั้งหมด 144 ภาพจัดวางโดยได้แรงบันดาลมาจากคานนาจหรือการตัดเย็บรูปทรงสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ บนตัวกระเป๋า ในการพาเรื่องราวช่องสี่เหลี่ยมทั้งหมดเขาเลือกที่จะใช้จันทบุรี-ตราดเป็นเส้นทางเรื่องราวนี้ เนื่องจากมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเหมาะกับการพรรณาในนิราศภาพถ่ายเช่นนี้ ถ้าให้ผมบอกความประทับใจต่อดิออร์ "ผมรู้สึกประทับใจเรื่องราวในอดีตในแง่มุมต่าง ๆ ของดิออร์ซึ่งพัฒนามาเป็นโครงสร้างเรื่องราวความทรงจำสำหรับการสร้างสรรค์โปรเจกต์นี้" ศิลปินภาพถ่ายกล่าวสะท้อนถึงกรอบแรงบันดาลใจงาน "นิราศ" สุดพิเศษในนิทรรศการของกระเป๋าสุดคลาสสิก

1 / 2

Eternal Muse, Ran Hwang, 2016


2 / 2

The Wandaful bag, Wanda Barcelona, 2013


     นอกจากผลงานของคนไทย 2 คนยังมีผลงานอย่างกระเป๋าลวดลายต้นพลัมที่บานสุดและจะร่วงหล่นหายไป ปักด้วยกระดุมที่สะท้อนถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนเพื่อเป็นคำอุปมาการดำรงชีวิตของมนุษย์จากผลงาน Eternal Muse ของศิลปิน Ran Hwang หรือจะเป็นผลงานการร้อยถักกระเป๋าเลดี้ ดิออร์ด้วยเส้นเอ็นและกระดาษ ความพิเศษเชิงเทคนิคที่ใช้ความพยายามมหาศาลจากสตูดิโอ Wanda Barcelona ในผลงานชื่อ The Wandaful Bag และยังมีผลงานประติมากรรมชิ้นอื่น ๆ อีกมากมาย

1 / 2

Reserved Pride, Chen Man, 2012


2 / 2

A Woman in a wig, with a Lady Dior handbag, Quentin Shih, 2010


     มาถึงมุมของภาพถ่ายความโดดเด่นนอกเหนือจาก "นิราศ" แล้วยังมีผลงานความขัดแย้งกันของความเป็นชนเผ่าโบราณกับกระเป๋าซึ่งสะท้อนถึงความหลากหลายที่เลดี้ ดิออร์สามารถเข้าได้กับทุกสิ่งอย่าง หลอมรวมวัฒนธรรมของตะวันตกและตะวันออกจากผลงาน Reserved Pride ของ Chen Man หรือผลงานเหนือกาลเวลาและสถานที่กับผู้หญิงใส่วิกถือคลาสสิกเลดี้ ดิออร์สะท้อนถึงความพิเศษในชีวิตและความเป็นอมตะเหนือกาลเวลาของกระเป๋าใบนี้ผลงานของ Quentin Shih ในชื่อ A Woman in a wig, with a Lady Dior handbag นอกจาก 2 ภาพนี้แล้วยังมีผลงานจากศิลปินคนอื่น ๆ อีกมากมาย ถ้าหากใครอยากสัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษของนิทรรศการครั้งนี้ด้วยตัวเอง พรุ่งนี้ (วันที่ 20 มกราคม) ถือเป็นโอกาสสุดท้ายแล้ว เชิญชมความมหัศจรรย์ของผลงานศิลปะผ่านกรอบกระเป๋าสุดคลาสสิกเลดี้ ดิออร์ได้ ณ ชั้น 1 โซน ICONLUXE ศูนย์การค้าไอคอนสยามตั้งแต่เวลา 11.00 น. - 20.00 น.

 

แต่ถ้าใครไม่สะดวกหรือพลาดไปสามารถติดตามชมผลงานของศิลปินเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างของบทความนี้

 

ผลงานประติมากรรมกระเป๋า Lady Dior

 

 

1 / 17

Lady Rock, Angélique Lecaille, 2012


2 / 17

Botanical Lady Dior, Makoto Azuma, 2012


3 / 17

Brick Bag, Brigida Baltar, 2013


4 / 17

Lady Bomb, Erdal Duman, 2013


5 / 17

Untitled, Helen Feifel, 2016


6 / 17

diOrfurOr, Jan Albers, 2016


7 / 17

Artactually_lady, Jyung Pyo Hong, 2015


8 / 17

Lady Bird, Kum Chi Keung, 2013


9 / 17

Midsummer Night Stroll, Liu Chih Hung, 2017


10 / 17

Lady Dior Handbag, Lio Jianhua, 2009


11 / 17

Stage evidence, Loris Cecchini, 2010


12 / 17

Moving Bag, Oh You Kyeong, 2015


13 / 17

The Lady Has Arrived, Olympia Scarry, 2011


14 / 17

Le Palais, Olympia Scarry, 2016


15 / 17

Existence-A Splendid outing 1506, Seon Ghi Bahk, 2015


16 / 17

Lady's dream, Tayfun Serttaş, 2012


17 / 17

Untitled, Tunga, 2013


ผลงานภาพถ่าย

1 / 6

Lady Dior, Boswell, Detroit, USA, 2012


2 / 6

LADY DIOR / LOOKING AT THE SUN AT MIDNIGHT (BLUE), Katharina Sieverding, 2016


3 / 6

HELLO GORGEOUS, Moritz Wegwerth, 2016


4 / 6

A loose thread of light, Rune Guneriussen, 2011


5 / 6

Forgotten, Shao Ting Kuei, 2017


6 / 6

Jeu de Dames, Zophie Zenon, 2018


 

ภาพ : Courtesy of Dior

WATCH

คีย์เวิร์ด: #Dior #LadyDiorAsSeenBy