FASHION

เผยเบื้องหลังการอยู่รอด...เมื่อมหาราชาแห่งอินเดีย ทำให้คาร์เทียร์อยู่มาได้จนถึงวันนี้

     Francesca Cartier Brickell ทายาทคาร์เทียร์รุ่นที่ 6 ของคาร์เทียร์ประกาศชัดว่า “ฉันไม่คิดว่าจะมีอะไรแซงหน้าเครื่องเพชรโบราณของคาร์-เทียร์ไปได้ โดยเฉพาะชิ้นที่ได้แรงบันดาลใจจากอินเดีย” เธอหมายถึงทั้งคุณภาพของอัญมณีจากเมืองโกลคอนดา แหล่งเหมืองเพชรแห่งแรกๆ ที่มนุษย์ค้นพบและคุณภาพงานฝีมือของช่างคาร์-เทียร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20

      เพราะคุมคาร์เทียร์ ลอนดอน ฌัก คาร์เทียร์จึงต้องเดินสายเยี่ยมดินแดนต่างๆ ในอาณานิคมอังกฤษ ใน ค.ศ. 1911 ฌักเข้าร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกสถาปนาพระเจ้า George ที่ 5 พระเจ้ากรุงอังกฤษขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งอินเดีย ในพิธีนั้นมีการเสด็จออกมหาสมาคม (Delhi Durbar) ท่ามกลางมหาราชาและเจ้าผู้ครองนครต่างๆ ของอินเดียที่ประทับอยู่ในกระโจมน้อยใหญ่บริเวณทุ่งกว้างนอกนครนิวเดลี ซึ่งได้ชื่อเล่นชั่วคราวว่า City of Tents

ภาพของพระเจ้าจอร์จที่ 5 พระเจ้าแห่งกรุงอังกฤษ ในพระราชพิธีราชาภิเษก ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งอินเดีย ณ มหาสมาคม Delhi Durbar ปี 1911 / ภาพ : Royal Collection Trust

 

     ฌักตื่นตาตื่นใจกับมหาราชาอินเดียที่ทรงเครื่องเพชรแพรวพราว เจ้าชายอินเดียเหล่านี้มิได้ซื้อเพชรให้มหารานีหรือผู้หญิงของตนทว่าซื้อให้ตัวเอง ในทริปนั้นนายห้างคาร์เทียร์ลากกระเป๋าเดินทางบรรจุสินค้าไปด้วย ออร์เดอร์แรกที่ฌักเปิดตลาดในอินเดียได้คือนาฬิกาพกเงินแท้เรียบๆ 1 เรือน

     ฌักสานสัมพันธ์กับนายหน้าค้าเพชรในอินเดีย คาร์เทียร์จึงได้อัญมณีน้ำงามสีสวยที่สุดเสมอซึ่งเป็นรากฐานความสำเร็จแก่เมซงจนถึงวันนี้ และสำคัญที่สุดคือสายสัมพันธ์แนบแน่นกับเหล่ามหาราชา แม้แต่ทายาทของคาร์เทียร์ยังยอมรับว่า “อินเดียคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้คาร์เทียร์อยู่รอดมาได้ถึงทุกวันนี้” ฟรานเชสกา ยกตัวอย่างยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในทศวรรษ 1930 แต่ด้วยอานิสงส์ออร์เดอร์จากมหาราชาอินเดีย คาร์เทียร์จึงไม่ตายตกไปตามกันกับเพื่อนร่วมวงการลักชัวรี

 

1 / 2

ภาพวาดของมหาราชาแห่งปัตเตียลา Bhupinder Singh / ภาพ : reddit.com


2 / 2

ภาพถ่ายของสร้อยเพชร Patiala ในตำนานที่สั่งทำโดย มหาราชาแห่งปัตเตียลา Bhupinder Singh / ภาพ : the court jeweller




WATCH




     ออร์เดอร์ที่ยังไม่มีอะไรมาลบล้างได้ในหน้าประวัติศาสตร์ของเมซงจนถึงปัจจุบันคือ Patiala Necklace ของเซอร์ Bhupinder Singh มหาราชาแห่งปัตเตียลาที่ใช้เวลาทำระหว่าง ค.ศ. 1925-1928 ประดับเพชร 2,390 เม็ด ใจกลางคือเพชรสีเหลืองหนัก 234.65 กะรัต เพชรขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลกในเวลานั้น

1 / 3

สร้อยคอ Hindu Necklace สไตล์ Tutti Frutti ของสาวสังคม Daisy Fellowes


2 / 3

Wallis Simpson หรือ ดัชเชสแห่งวินด์เซอร์ ผู้หลงใหลในงานจิวเวลรีของคาร์เทียร์ และมีสะสมไว้มากมาย / ภาพ : Wiki


3 / 3

สร้อยคอ Bib Necklace ตัวเรือนทองคำ และแพลทินัมประดับเพชร แอเมทิสต์ และลูกปัดเทอรืคอยส์ / ภาพ : Cartier


     ทศวรรษ 1920 งานเคลือบสีแดงใสแต้มสีเขียว ขาว และฟ้าของเมืองชัยปุระเป็นที่นิยมมาก โดยไม่รั้งรอ ฌักรับศิลปะแม่สีมาใช้กับเครื่อง-ประดับคาร์เทียร์และให้กำเนิดสไตล์ Tutti Frutti (ผลไม้รวม) ชิ้นงานสร้างชื่อสูงสุดของสไตล์นี้ก็คือ Hindu Necklace สร้อยคอประดับไพลิน ทับทิม และมรกต ซึ่งเป็นของ Daisy Fellowes ทายาทจักรเย็บผ้าซิงเกอร์ใน ค.ศ. 1936 และ Bib Necklace ที่ Wallis Simpson สั่งทำหลังจากได้เป็นดัชเชสแห่ง Windsor

WATCH

คีย์เวิร์ด: #VogueAugust2019 #Cartier